×

คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: C:\inetpub\wwwroot\inburi\images\news20dec2560_3
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news20dec2560_3

ลุ้นกันมาแรมปีกับการค้นหาสุดยอด “เกษตรกรรักบ้านเกิด” จนในที่สุดก็ได้ครบทั้ง 10 คน และมีการมอบรางวัลไปเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ท่ามกลางความดีใจของคนที่ได้รับรางวัล เรามาดูเบื้องหน้าเบื้องหลัง…มาดูว่า งานนี้ผู้จัดงานมีแนวคิดต่อภาคเกษตรอย่างไร  คนที่รับรางวัลเป็นใครมาจากไหน เขามีดีอะไรจึงได้รับรางวัล…

ฟังวิสัยทัศน์ผู้จัดงาน…

การประกวดโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2560 นับเป็นครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้น ณ ดีแทคเฮ้าส์ ตึกจามจุรี ชั้น 32 ผู้จัดงานประกอบด้วย ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้าน โดยมีบุคคลสำคัญที่มาร่วมงาน เช่น นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค นางสาวภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร  นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ฯลฯ

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง กล่าวถึงแนวโน้มสำคัญของเกษตรไทยยุคใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 เทรนด์ ได้แก่ 1. เกษตรเชิงข้อมูล (Data-driven farming) เกษตรกรควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ในการวางแผนการทำงาน เพื่อทำให้เกิดความแม่นยำในการทำการเกษตร ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และสอดคล้องต่อความต้องการของตลาด 2. พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ต้องคิดค้นนวัตกรรมเครื่องมือที่ทำให้เกิดการนำพลังงานมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต และ 3. ควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี (Bio-pesticides) ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับงานวิจัยที่เกษตรกรคิดค้นขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยและลดต้นทุนจากสารเคมีได้

ทางด้าน นายบุญชัย เบญจรงคกุล กล่าวว่า โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดเกษตรแบบครบวงจร โดยเน้นการใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ Thailand 4.0 เกษตรกรต้นแบบที่เข้ารอบทั้ง 10 คนในปีนี้ มีคุณลักษณะโดดเด่นในเรื่องทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน แรงงาน ทุน ตลอดจนการเพาะปลูกและแปรรูปสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อยู่บนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์การเกษตรให้มีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีทักษะความเป็นเกษตรกรมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และนำมาใช้ในการบริหารจัดการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่ รู้จักการวางแผนธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างการตลาดนำการผลิต พร้อมทั้งแบ่งปันบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่เกษตรกรทั่วไป

{gallery}news20dec2560_3{/gallery}