ประวัติสหกรณ์/การบริหารงาน

สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด

วิสัยทัศน์สหกรณ์

                                เป็นหนึ่งในด้านบริหาร

                                เป็นศูนย์กลางที่ครบวงจร

                                เอื้ออาทรมวลสมาชิกและสังคม

พันธะกิจ

                                พัฒนาองค์กร

                                พัฒนาธุรกิจ

                                พัฒนาการให้บริการ

ประวัติความเป็นมา

                สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด เกิดจากเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ และได้จดทะเบียนควบเข้ากัน   ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์   พ.ศ.2511 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2519   จากสหกรณ์ต่าง ๆ รวม 4 สหกรณ์   คือ   สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด ,สหกรณ์การเกษตรพลาญชัย จำกัด ,   สหกรณ์การเกษตรห้วยแอ่ง จำกัด และ สหกรณ์การเกษตรหลักเมือง จำกัด ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินงาน 3 อำเภอ ดังนี้ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด, อำเภอจังหาร และอำเภอศรีสมเด็จ จำนวนสมาชิก 6,900 ครอบครัว แบ่งการบริหารออกเป็น 15 เขตจำนวน 144 กลุ่ม ส่วนใหญ่สมาชิกประกอบอาชีพทำนา อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และทำนาปรังบางส่วน หลังฤดูทำนาสมาชิกประกอบอาชีพปลูกผักสวนครัว,พืชไร่บางส่วนและรับจ้างทั่วไป

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหกรณ์

         เพื่อรวมตัวกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเงินทุน การจัดหาปัจจัยการผลิต รวบรวมผลผลิตและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ด้านวิชาการ และสวัสดิการตามหลักการอุดมการณ์สหกรณ์ โดยไม่มุ่งเน้นกำไร

         การบริหารงาน โดยคณะกรรมการดำเนินงานที่มาจากการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ จำนวน 15 คน และผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ปัจจุบันมีนาย พัสกร มาตย์เชียงไชย เป็นประธานกรรมการ

         ฝ่ายจัดการที่มาจากการจัดจ้าง ตำแหน่งผู้จัดการ , ผู้ช่วยผู้จัดการ ,หัวหน้างานและเจ้าหน้าที่รวม 31 คน ปัจจุบัน นายอารีย์ มาตย์วิเศษ เป็นผู้จัดการ             

ด้านเงินทุนดำเนินงาน

         สหกรณ์มีเงินทุนจากสมาชิกและกู้ยืมจากภายนอกในการบริหารงานในรอบปีบัญชี ดังนี้

  • ทุนเรือนหุ้น 105,500,000 บาท
  • ทุนสำรอง 29,028,536 บาท
  • ทุนอื่นๆ   11,973,907 บาท
  • ลูกหนี้เงินกู้ 240,610,900 บาท
  • สินทรัพย์/ที่ดิน 30,526,000 บาท
  • เงินฝากจากสมาชิก 108,515,126 บาท
  • เงินกู้ ธกส.,กรมส่งเสริมสหกรณ์ ฯ      208,520,000 บาท

ด้านการดำเนินธุรกิจและการบริการ

         สหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจเพื่อบริการสมาชิก ดังนี้

1.ธุรกิจรวบรวมผลผลิตและแปรรูป

สหกรณ์มีโรงสีและอุปกรณ์การตลาดดังนี้

     - โรงสีระบบไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต 80 ตัน/วัน 1 โรง

     - โรงปรับปรุงคุณภาพข้าวสารกำลังผลิต 80 ตัน/วัน    

     - โรงสีข้าวกล้องงอก กำลังผลิต 40 ตัน/วัน         

     - ไซโลและโกดังเก็บข้าวเปลือกกำลังการจัดเก็บ1,500 ตัน  

     - อุปกรณ์การตลาดครบ

     -   ได้ผ่านมาตรฐานระบบ GMP/HACCP

เพื่อบริการสมาชิกที่นำข้าวเปลือกมาจำหน่ายเพื่อแปรรูปได้อย่างเพียงพอ

2.ธุรกิจการจัดหาสินค้ามาจำหน่าย

                สหกรณ์จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนวัสดุการเกษตรมาจำหน่ายตามความต้องการของสมาชิก ทั้งเงินสดและเงินเชื่อ ให้สมาชิกซื้อได้ในราคายุติธรรม

3.ธุรกิจสินเชื่อ

                สหกรณ์ดำเนินธุรกิจสินเชื่อเพื่อบริการสมาชิกได้กู้ยืมโดยให้วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาทต่อคน โดยแบ่งเป็น

  1. เงินกู้ระยะสั้น ส่งชำระ ไม่เกิน 12 เดือน
  2. เงินกู้ระยะปานกลาง ส่งชำระ ไม่เกิน 3 ปี
  3. เงินกู้ระยะยาว ส่งชำระ ไม่เกิน 7 ปี

อัตราดอกเบี้ยตามชั้น

ชั้น A อัตราดอกเบี้ย 6.50 % ต่อปี

ชั้น B อัตราดอกเบี้ย 7.50 % ต่อปี

ชั้น C อัตราดอกเบี้ย 8.50 % ต่อปี

4.ธุรกิจบริการ

                สหกรณ์มีบริการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน จาก

สมาชิก โดยแบ่งประเภท การรับฝากเงินไว้ 3 ประเภท คือ

เงินฝากออมทรัพย์ ,เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และเงินฝากออมทรัพย์สัจจะ

                อัตราดอกเบี้ยที่สหกรณ์คิดให้

  1. เงินรับฝากออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2  %ต่อปี
  2. เงินรับฝากออมทรัพย์พิเศษ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3   % ต่อปี
  3. เงินรับฝากออมทรัพย์สัจจะ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3   % ต่อปี

5.ด้านการจัดสวัสดิการสมาชิกและช่วยเหลือสาธารณะประโยชน์

                สหกรณ์ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกและช่วยเหลือสาธารณะประโยชน์โดยจัดสรรเงินจากกำไรสุทธิโดยที่ประชุมใหญ่ เช่น

  • สวัสดิการการ เกิด, แก่, เจ็บป่วย และเสียชีวิต
  • ช่วยเหลือกรณีประสบภัยธรรมชาติ
  • สนับสนุนส่วนราชการและช่วยเหลือสังคม

6.ด้านการส่งเสริมอาชีพ

                สมาชิกสหกรณ์ส่วนมากประกอบอาชีพทำนาข้าวด้วยน้ำฝนและเป็นข้าวหอมมะลิเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสหกรณ์จึงมีนโยบายส่งเสริมให้สมาชิกปลูกข้าวให้มีคุณภาพระบบ GAP โดยการสนับสนุนงบตรวจแปลงจากส่วนราชการเพื่อที่จะผลิตข้าวที่มีคุณภาพให้ผู้บริโภค และนำไปสู่การปลูกข้าวอินทรีย์ในอนาคต โดยสหกรณ์มีโครงการจัดหาเงินทุนและปัจจัยการผลิตให้ ปลอดดอกเบี้ยและรับซื้อคืนในราคาสูงกว่าท้องตลาด

7.ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์

                สหกรณ์ได้รับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิจากสมาชิกเพื่อนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารที่มีคุณภาพและเพื่อเพิ่มมูลค่าออกจำหน่าย โดยใช้ตรา “พลาญชัย” ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงพาณิชย์ตรามือพนมและมาตรฐานการผลิตระบบ GMP/HACCP เช่น ข้าวหอมมะลิ, ข้าวกล้องหอมมะลิ,ข้าวกล้องงอก ซึ่งมีวางจำหน่ายที่ห้าง Big C, Lotus ทุกสาขาแล้วยังเป็นผู้ผลิตข้าวส่งบริษัท Amway มาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบันเป็นสิ่งรับประกันคุณภาพสินค้าได้เป็นอย่างดี

เลขที่ 82 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด     รหัสไปรษณีย์ 45000

โทรศัพท์ 0 4351 2028 , 0 4351 1453

โทรสาร   0 4352 7641

ผู้จัดการ : นายอารีย์ มาตย์วิเศษ

08-1708-3259

Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.