king10

bannernews

 

                                               ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                    ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน

                                                                                                พ.ศ. 2556

                                                                               *********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ข้อที่ 37 และข้อที่ 124   ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

   ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ.2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556   เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด   ว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2546   ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546   และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ                                                  “สหกรณ์” หมายถึง สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

 

                                “ประธานกรรมการ” หมายถึง ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                “รองประธานกรรมการ”  หมายถึง รองประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคม           ชัยบาดาล จำกัด

                                “คณะกรรมการ” หมายถึง     คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                “กรรมการ” หมายถึง   กรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                “ผู้จัดการ” หมายถึง   ผู้จัดการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                “เจ้าหน้าที่การเงิน” หมายถึง   เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์

                                “เงินสดในมือ” หมายถึง เงินสดที่เป็นธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ซึ่งสหกรณ์เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ เพื่อใช้จ่ายหมุนเวียนในทางธุรกิจของสหกรณ์

                                “เอกสารการเงิน” หมายถึง เช็ค ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน

                ข้อ 5. สหกรณ์เปิดรับจ่ายเงินตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 15.30 น. ทุกวัน เว้นวันหยุด
ราชการ/หรือวันหยุดตามประกาศของสหกรณ์

                ข้อ   6. ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการรับ – จ่าย และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์

                ข้อ   7. กรณีที่ยังไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการไม่อยู่หรือผู้จัดการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการหรือเจ้าหน้าที่การเงิน หรือพนักงานผู้หนึ่งผู้ใดที่เห็นสมควรซึ่งไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านบัญชี เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 6 แทน   โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

                ข้อ 8. การรับจ่ายเงิน จะต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานใบสำคัญประกอบครบถ้วน และจะต้องบันทึกรายการในสมุดบัญชีของสหกรณ์ทุกครั้งทันทีที่เกิดรายการขึ้น และผู้จัดการจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้องเป็นประจำวัน

หมวด 1

ใบเสร็จรับเงิน

               

                ข้อ 9. ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด โดยให้มีสำเนาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและบันทึกบัญชี

                ข้อ 10. ใบเสร็จรับเงิน ให้มีหมายเลขกำกับเล่ม และหมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงินเรียงตามลำดับกันไปทุกฉบับ ให้สหกรณ์จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อให้ทราบและตรวจสอบได้ว่าได้จัดพิมพ์ขึ้นจำนวนเท่าใด   ได้จ่ายใบเสร็จรับเงินเล่มใด   หมายเลขใดถึงหมายเลขใด   ให้เจ้าหน้าที่ผู้ใดไปใช้เมื่อไร

                การเบิกใช้ใบเสร็จรับเงิน ให้เบิกใช้ตามจำนวนที่เหมาะสมและจำเป็นกับสภาพธุรกิจของ สหกรณ์ โดยให้เบิกตามลำดับเล่มและเลขที่ของใบเสร็จรับเงิน และให้มีหลักฐานการเบิกจ่ายใบเสร็จรับเงินไว้ด้วย

                ข้อ 11. ใบเสร็จรับเงิน ห้ามขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติม จำนวนเงินหรือชื่อผู้ชำระเงินหากใบเสร็จรับเงินฉบับใดลงรายการรับเงินผิดพลาด ก็ให้ขีดฆ่าจำนวนเงินและเขียนใหม่ทั้งจำนวนแล้วให้ผู้ รับเงินลงลายมือชื่อกำกับ   หรือขีดฆ่ายกเลิกใบเสร็จรับเงินนั้นทั้งฉบับแล้วออกฉบับใหม่ให้แทน

                สำหรับใบเสร็จรับเงินฉบับที่ยกเลิก ให้ขีดฆ่าและเขียนเหตุผลพร้อมกับลงชื่อกำกับไว้และให้เย็บติดไว้ในเล่มโดยมีสำเนาอยู่ครบทุกฉบับพร้อมต้นฉบับ

                ข้อ 12. ให้สหกรณ์เก็บรักษาสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งผู้สอบบัญชียังมิได้ตรวจสอบไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหายและเมื่อได้ตรวจสอบแล้วก็ให้เก็บไว้อย่างเอกสารธรรมดาได้

                ข้อ 13. ให้คณะกรรมการมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือพนักงานของสหกรณ์ทำหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้ใช้ และเล่มที่ใช้ไม่หมดไว้ในที่มั่นคงปลอดภัย

                ข้อ 14. ทุกงวด 3 เดือน   และเมื่อสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นทำการตรวจนับใบเสร็จรับเงินทั้งที่ใช้แล้วและที่ยังคงเหลือให้เป็นการถูกต้องโดยจัดทำหลักฐานการตรวจนับไว้ด้วย

หมวด 2

การรับเงิน

                ข้อ 15. สหกรณ์ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน โดยปกติให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดียวกันในการรับเงินทุกประเภทเว้นแต่เงินประเภทใดที่มีการรับชำระเป็นประจำและมีจำนวนมากราย     จะแยกใบเสร็จรับเงินเล่มหนึ่งสำหรับการรับชำระเงินประเภทนั้นก็ได้

                ข้อ 16. การรับเงินของสหกรณ์ให้รับเป็นเงินสด   แต่ถ้าเป็นกรณีที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่สหกรณ์ก็อาจรับเป็นเอกสารการเงิน เช่น ธนาณัติ   หรือตั๋วแลกเงินไปรษณีย์หรือเช็ค หรือตั๋วแลกเงิน   หรือสัญญาใช้เงินได้

                ข้อ 17. ในกรณีจำเป็นที่จะต้องรับเช็คหรือตั๋วสัญญาใช้เงินจะต้องเป็นเช็คหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารรับรอง

                ในกรณีที่เป็นเช็คที่ไม่สามารถให้ธนาคารรับรองได้จะต้องเป็นเช็คที่สั่งจ่ายเงินในวัน ออกเช็คและคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วว่าผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้

                ถ้าจำเป็นต้องรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ก็ต้องเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าไม่เกินสามวันและจำนวนเงินตามเช็คแต่ละรายรวมแล้วจะต้องไม่เกิน - บาท และคณะกรรมการจะต้องให้ผู้สั่งจ่ายจัดหาหลักประกันที่เป็นทรัพย์สินหรือบุคคลที่เชื่อถือได้มารับอาวัลเช็ค   หรือให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันหนี้สินต่างๆ ที่ชำระด้วยเช็คทั้งหมด

                ข้อ 18. ในกรณีมีการรับเช็คตามข้อ 17   ใบเสร็จรับเงินที่สหกรณ์ออกให้แก่ผู้จ่ายเช็คให้ระบุว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่เท่าใด และลงวันที่เท่าใด ทั้งให้กำหนดเงื่อนไขไว้ในใบเสร็จรับเงินว่า “ใบเสร็จรับเงินนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้รับเงินตามเช็คนั้นแล้ว” และให้จัดทำทะเบียนรับเช็คเพื่อบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าวเพื่อการควบคุมและตรวจสอบด้วยเช็คที่ถึงกำหนดให้นำฝากธนาคารทันที   ส่วนเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนด ให้เก็บรักษาไว้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนด

                ข้อ 19. เงินสดและเอกสารการเงินที่สหกรณ์ได้รับในแต่ละวันตามข้อ 16   ให้นำฝากธนาคารเมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงินในวันนั้น เว้นแต่เอกสารการเงินประเภทที่ต้องนำไปขึ้นเป็นเงินสดก่อน ก็ให้ดำเนินการในทันที

                ในกรณีที่ไม่สามารถนำฝากธนาคารได้ทันวันนั้น ให้บันทึกเหตุผลไว้ในสมุดบัญชีเงินสดและแจ้งให้ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการเพื่อทราบและให้รีบนำเข้าฝากธนาคารในเวลาเริ่มทำการของวันทำการถัดไปทันที

                เงินสดและเอกสารการเงินซึ่งไม่อาจนำฝากธนาคารได้ทันในวันนั้นให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของสหกรณ์ หรือ ในที่มั่นคงปลอดภัย

                ข้อ 20. กรณีเงินนำฝากธนาคารมีจำนวนมาก หรือธนาคารอยู่ห่างไกลหรือกรณีที่เห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่จะนำฝากธนาคารให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งให้กรรมการคนใดคนหนึ่งร่วมกับผู้จัดการควบคุมเงินไปฝากธนาคาร   และหรือการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้

หมวด 3

การจ่ายเงิน

                ข้อ 21. การจ่ายเงินให้จ่ายเฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของสหกรณ์และเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของสหกรณ์

                ข้อ 22. การจ่ายเงินทุกครั้ง ต้องมีหลักฐานการจ่ายที่ถูกต้องสมบูรณ์เก็บไว้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

                ข้อ 23. หลักฐานการจ่าย นอกจากใบเสร็จรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินออกให้แก่สหกรณ์ให้ใช้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด

                ข้อ 24. หลักฐานการจ่าย ที่เป็นใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินออกให้แก่สหกรณ์อย่างน้อยจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  • ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
  • วัน เดือน ปี
  • รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
  • จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร
  • ลายมือชื่อของผู้รับเงิน

ข้อ 25. ให้เจ้าหน้าที่การเงินประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” และลงลายมือชื่อกำกับการจ่าย พร้อม วัน เดือน ปี ไว้ในหลักฐานการจ่ายเงินทุกฉบับเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

                ข้อ 26. การจ่ายเงินของสหกรณ์ให้กระทำได้ดังนี้

                                                26.1 การจ่ายเงินจำนวนไม่มากและต้องจ่ายเป็นประจำ เช่น ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยงของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ค่าสื่อสาร ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เป็นต้น ให้จ่ายจากเงินสดในมือที่กำหนดให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

                                ถ้าสหกรณ์มีความจำเป็นทางธุรกิจในบางช่วงระยะเวลาที่จะต้องเก็บรักษาเงินสดในมือไว้เกินกว่าจำนวนวงเงินที่กำหนดให้เก็บรักษาได้ในวรรคแรก   ให้ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติกำหนดจำนวนวงเงินพร้อมทั้งช่วงระยะเวลาที่จะเก็บรักษาตามที่เห็นสมควร

                                26.2 การจ่ายเงินเป็นจำนวนมากให้แก่สมาชิกหรือกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์   หรือการจ่ายเงินของสหกรณ์ในทางธุรกิจอื่นๆ ให้จ่ายเป็นเช็ค   ยกเว้นถ้าผู้รับเงินประสงค์จะให้จ่ายเป็นเงินสด   หรือในกรณีที่สหกรณ์ไม่สามารถจ่ายเงินเป็นเช็คได้ ก็ให้จ่ายเป็นเงินสดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

                ข้อ 27. ก่อนจ่ายเงินทุกครั้ง ผู้มีหน้าที่จ่ายต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆและใบสำคัญประกอบการจ่ายเงินให้ถูกต้องเรียบร้อย และต้องมีผู้อนุมัติให้จ่ายเงินได้จึงจ่ายเงินและเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินหรือให้ผู้รับเงินลงนามรับเงินไว้ในหลักฐานการจ่ายเงินของสหกรณ์ทุกครั้ง

                ข้อ 28. การจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ในกรณีที่ไม่รู้จักตัวผู้ขอรับเงิน ต้องให้บุคคลอื่นที่เชื่อถือได้ลงลายมือชื่อรับรอง หรือนำหลักฐาน เช่น   บัตรประจำตัวแสดงประกอบการรับเงินด้วย

                ข้อ 29. การจ่ายเช็คตามที่กำหนดไว้ในข้อ 26.2   ให้สั่งจ่ายในนามบุคคลหรือหน่วยงานผู้รับเงินโดยขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก

                ข้อ 30. การจ่ายเช็ค ต้องมีใบสำคัญจ่ายเช็ค   ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่จ่ายเช็คเลขที่เช็ค ชื่อธนาคาร วัตถุประสงค์ในการจ่ายเงิน ชื่อผู้รับเช็คและจำนวนเงิน พร้อมทั้งลงชื่อผู้จัดทำเอกสารและผู้อนุมัติไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ สหกรณ์จะต้องจัดให้มีทะเบียนจ่ายเช็คบันทึกรายละเอียด ข้างต้นเพื่อการควบคุมและตรวจสอบด้วย

                เช็คที่มีการลงชื่อสั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่มีผู้มารับให้เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและควรติดต่อให้ผู้รับมารับไปโดยเร็วที่สุด

                ข้อ 31. ในกรณียกเลิกการจ่ายเช็ครายการใดให้ผู้มีหน้าที่จ่ายประทับตรา “ยกเลิก” ในเอกสารที่ยกเลิกทุกฉบับ ส่วนเช็คที่ยกเลิกให้เย็บติดกับต้นขั้วและประทับตรา “ยกเลิก” พร้อมบันทึกเหตุผลที่ยกเลิกและลงลายมือชื่อผู้รับผิดชอบกำกับไว้ด้วย

                ข้อ 32. ในการถอนเงินจากธนาคาร หรือแหล่งรับฝากเงินอื่นๆ เพื่อนำมาใช้จ่ายในธุรกิจของสหกรณ์ ให้ผู้จัดการหรือผู้ทำหน้าที่แทน ทำบันทึกขออนุมัติถอนเงินโดยชี้แจงเหตุผลต่อประธานกรรมการ   หรือรองประธานกรรมการ   หรือกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการถอนเงิน พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานต่างๆ และเอกสารการถอนเงินเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

หมวด 4

การเก็บรักษาเงินและเอกสารสำคัญ

                ข้อ 33. เมื่อสิ้นเวลาทำการตามข้อ 5 ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามข้อ 7 ตรวจสอบรายการเงินสดในสมุดบัญชีเปรียบเทียบกับตัวเงินสดในมือเป็นประจำทุกวัน เมื่อเห็นว่าถูกต้องตรงกันแล้วให้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ในสมุดบัญชีด้วย

                ข้อ 34. เงินสดและเอกสารการเงินที่สหกรณ์จะต้องเก็บรักษาไว้ในมือในแต่ละวันนั้น ให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของสหกรณ์หรือในที่มั่นคงปลอดภัยโดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ

                ข้อ 35. ให้เก็บรักษาสมุดคู่บัญชีเงินฝากของสหกรณ์ทุกเล่ม สมุดบัญชีทะเบียนและเอกสารเกี่ยวกับการเงินไว้ในตู้นิรภัย   และหรือในที่มั่นคงปลอดภัยโดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ

                ข้อ 36. ให้คณะกรรมการมอบหมายให้ประธานกรรมการ   หรือรองประธานกรรมการหรือกรรมการคนใดคนหนึ่งทำการตรวจสอบเป็นครั้งคราวเกี่ยวกับเงินสดคงเหลือและเอกสารการเงินอื่นๆ ให้ถูกต้อง

                ข้อ 37. ให้ผู้จัดการจัดให้มีการทำบัญชีรับจ่าย   งบทดลอง งบสอบยอดเงินฝากธนาคาร (กรณีเงินฝากในบัญชีของสหกรณ์ และหลักฐานของธนาคารไม่ตรงกัน) รวมทั้งสรุปเกี่ยวกับการรับจ่ายเงินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเป็นประจำทุกเดือน

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

                                                                 ลงชื่อ     บุญเทศ   บรรฑิตย์                                                                 

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยการใช้เงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 44 (8) และข้อ 124 ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการใช้เงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการใช้เงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์ พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการใช้เงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีกำหนดไว้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. ในระเบียบนี้

                            “เงินทุนสะสม” หมายความว่า   เงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์

                            “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการผู้บริหารเงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์ ตามข้อ 7

                            “ทรัพย์สินถาวร” หมายความว่า   ทรัพย์สินอันมีลักษณะคงทนที่ใช้ในการดำเนิน     กิจการและใช้ได้นานกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ ซึ่งมิได้มีไว้เพื่อขาย

                ข้อ 5. ให้สหกรณ์จัดให้มีบัญชีเงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์ฝากธนาคารไว้บัญชีหนึ่งต่างหากจากบัญชีอื่น

                ข้อ 6. เงินที่จะนำเข้าบัญชีเงินทุนสะสม คือ

  • เงินที่สหกรณ์จัดสรรจากกำไรสุทธิในที่ประชุมใหญ่ ตามข้อบังคับข้อ 44
  • เงินอุดหนุน เงินบริจาค เงินช่วยเหลือ หรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากบุคคล องค์การ หรือสถาบัน
  • ดอกผลที่เกิดจากเงินทุนสะสม

                ข้อ 7. เงินทุนสะสมให้จ่ายเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • เพื่อจัดให้มีสำนักงานของสหกรณ์
  • เพื่อจัดให้มีทรัพย์สินถาวรในการดำเนินกิจการ อาทิ   ฉางโรงสี โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องทุนแรง เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลการเกษตร ยานพาหนะ เป็นต้น
  • เพื่อจัดทำแปลงสาธิตเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกและครอบครัว
  • เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม หรือต่อเติมสำนักงาน หรือทรัพย์สินถาวร
  • เป็นทุนส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มสตรี และเยาวชนในสหกรณ์
  • เพื่อจัดทำกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนากิจการสหกรณ์

ให้คณะกรรมการดำเนินการรายงานการใช้จ่ายเงินทุนสะสมในรอบปีทางบัญชีที่ผ่านมาให้ที่ประชุมใหญ่สามัญทราบในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้

ข้อ 8. ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจากกรรมการดำเนินการและสมาชิกขึ้นคณะหนึ่งจำนวนสามคน ซึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ และเลขานุการ โดยให้กรรมการดำเนินการเป็นประธานอนุกรรมการ

การดำรงตำแหน่ง การประชุม การพ้นจากตำแหน่ง และตำแหน่งว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระของคณะอนุกรรมการ ให้นำระเบียบว่าด้วยคณะอนุกรรมการมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 9. คณะอนุกรรมการจะพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่จะต้องไม่เกินวงเงินครั้งละ 120,000 บาท

ข้อ10.ให้ประธานอนุกรรมการเป็นผู้มีอำนาจลงชื่อการอนุมัติจ่ายเงินตามที่คณะอนุกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ

ข้อ 11. เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินแล้ว   ให้ผู้จัดการหรือพนักงานสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการหรือกรรมการดำเนินการที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายแล้วแต่กรณีเบิกจ่ายได้

ข้อ 12. การเก็บรักษาหลักฐานทางการเงิน ทางบัญชี การตรวจสอบ ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงินสดของสหกรณ์

ข้อ 13. ให้สหกรณ์จัดทำบัญชีว่าด้วยเงินทุนสะสมเพื่อการพัฒนากิจการของสหกรณ์แยกไว้โดยเฉพาะ และให้มีการปิดบัญชีปีละครั้ง โดยให้ถือรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์เป็นหลัก

ข้อ 14. ให้ประธานกรรมการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

                                                       ลงชื่อ         บุญเทศ บรรฑิตย์                                                            

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยการจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ข้อที่ 26 และข้อที่ 124 ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วย การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย พ.ศ.2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2556   เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. ในการจัดซื้อสิ่งของมาจำหน่ายแก่สมาชิกนั้น สหกรณ์ต้องจัดให้มีการสอบถามความต้องการของบรรดาสมาชิกก่อน   กรณีสมาชิกผู้กู้เงินเพื่อซื้อสิ่งของที่สหกรณ์จัดจำหน่ายให้สหกรณ์จัดซื้อสิ่งของตามความต้องการในแผนการผลิตและการใช้เงินกู้ของสมาชิก (แบบ สก ผกผ. 1-3) แล้วจึงพิจารณากำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ และปริมาณของสิ่งของที่จะซื้อ   โดยอนุโลมตามความต้องการของบรรดาสมาชิกส่วนใหญ่ และให้สหกรณ์กำหนดราคาขายสิ่งของแก่สมาชิก เวลายื่นใบสั่งซื้อ     สถานที่ซึ่งสมาชิกจะยื่นใบสั่งซื้อและรับสิ่งของกับเวลาซึ่งสมาชิกจะได้รับสิ่งของ ทั้งนี้   ให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือผู้จัดการมีหนังสือแจ้งไปยังสมาชิก (ทางประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่ม)

                ข้อ 5. สมาชิกจะยื่นใบสั่งสื่อได้ ณ สำนักงานของสหกรณ์   หรือต่อผู้ดูแลการจำหน่ายสิ่งของของสหกรณ์ตามที่ประธานกรรมการ   หรือรองประธานกรรมการหรือผู้จัดการมีหนังสือแจ้งไปยังสมาชิก (ทางประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่ม)

                ใบสั่งซื้อต้องทำตามแบบที่สหกรณ์กำหนดสมาชิกจะรับแบบใบสั่งซื้อได้จากสำนักงานของ สหกรณ์หรือจากผู้ดูแลการจำหน่ายสิ่งของของสหกรณ์ หรือจากประธานกลุ่ม หรือเลขานุการกลุ่ม

                สมาชิกผู้สั่งซื้อต้องลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อต่อหน้าพนักงาน หรือผู้ดูแลการจำหน่ายสิ่งของ ของสหกรณ์ซึ่งต้องลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย

                ข้อ 6. สมาชิกผู้สั่งซื้อต้องชำระเงินราคาสิ่งของที่สั่งซื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือสองวิธีดังต่อไปนี้

  • ชำระจำนวนเงินราคาสิ่งของด้วยเงินสดทันทีเมื่อรับสิ่งของ ณ สถานที่ที่สหกรณ์กำหนด
  • ชำระจำนวนเงินราคาสิ่งของจากเงินกู้ซึ่งได้รับจากสหกรณ์ โดยในทางปฏิบัติให้สหกรณ์หักเงินกู้ซึ่งสมาชิกกู้เพื่อซื้อสิ่งของจากสหกรณ์ชำระจำนวนเงินราคาดังกล่าว ทั้งนี้ โดยให้ถือเป็นหลักฐานการรับเงินกู้ของสมาชิกตามหนังสือกู้รายนั้น การจำหน่ายสิ่งของและการรับชำระเงินค่าสิ่งของในคราวเดียวกันด้วย
  • ในกรณีที่สหกรณ์ไม่ได้รับวงเงินกู้จากธนาคารหรือความต้องการใช้เงินกู้ของ สมาชิกเกินวงเงินของสหกรณ์   ให้สหกรณ์จัดให้สมาชิกผู้สั่งซื้อทำหนังสือกู้เสนอต่อสหกรณ์และรับสิ่งของจากสหกรณ์ให้ถือเป็นหลักฐานการรับเงินกู้ของสมาชิกโดยคิดเป็นหนี้เงินจำนวนเท่ากับราคาสิ่งของในเวลาและสถานที่ที่ สหกรณ์ส่งมอบให้แก่สมาชิก

                ข้อ 7. ให้ผู้จัดการรวบรวมใบสั่งซื้อตามข้อ 5   ซึ่งได้รับในคราวหนึ่งๆ เสนอคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณา   เมื่อคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้ดังกล่าวพิจารณาเห็นสมควรแล้ว สหกรณ์จึงจะให้สมาชิกผู้สั่งซื้อ ซื้อสิ่งของจากสหกรณ์ได้

                ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณาเห็นว่าสมาชิกผู้ใดมีเหตุไม่สมควร สหกรณ์ก็จะไม่ให้สมาชิกผู้นั้นซื้อสิ่งของจากสหกรณ์

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

                                                       ลงชื่อ          บุญเทศ บรรฑิตย์                                                                          

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 27 และข้อ 124   ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกดังกล่าวต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556   เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

หมวด 1

การรวบรวม

                ข้อ 4. การรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากสมาชิกสหกรณ์อาจกระทำได้ดังต่อไปนี้

                           (1) การซื้อขาดจากสมาชิก สหกรณ์จะรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากสมาชิกโดยการซื้อขาดตามราคาตลาดหรือราคาท้องถิ่นทั่วๆ ไป

                           (2) การเป็นตัวแทนจำหน่าย สหกรณ์จะรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากสมาชิกโดยการเป็นตัวแทนจำหน่ายเมื่อสหกรณ์หักค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่าใช้จ่ายในการขายและค่าบริการแล้วจำนวนเงินที่เหลือให้จ่ายคืนแก่สมาชิกเป็นรายๆ ไป ค่าบริการให้คิดในอัตราร้อยละ 2 ของราคาขาย

                           (3) การรวบรวมเข้ากองกลาง สหกรณ์จะรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเข้ากองกลางเพื่อรวมกันขายเป็นคราวๆ ตามประเภทชนิด   และคุณภาพของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ เมื่อสหกรณ์หักค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขายและค่าบริการในทำนองเดียวกับที่กำหนดไว้ใน (2)  แล้ว จำนวนเงินที่เหลือให้จ่ายคืนแก่สมาชิกตามจำนวนผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบ

                ข้อ 5. การรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ตามข้อ 4(2) หรือข้อ 4(3) ถ้าสมาชิกต้องการเงินสดสหกรณ์อาจจ่ายเงินทดรองให้แก่สมาชิกผู้ส่งมอบในอัตราไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์เมื่อส่งมอบก็ได้

                ข้อ 6. สหกรณ์จะรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ตามวิธีใดวิธีหนึ่งดังกล่าวแล้ว เฉพาะผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนมากพอสมควรเท่านั้น

                ข้อ 7. สหกรณ์อาจจัดให้มีสถานที่เก็บผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ขึ้น ณ แหล่งกลางที่เหมาะสม ก็ได้

                ข้อ 8. ในการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเพื่อให้เกิดผลดีแก่สหกรณ์และสมาชิก   ให้ปฏิบัติดังนี้

                            (1) มีสมุดกำหนดราคารับซื้อผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกแต่ละชนิดไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาใหม่   โดยให้ผู้จัดการลงลายมือชื่อรับรองไว้เป็นหลักฐานเพื่อถือเป็นหลักในการรับซื้อสินค้าในวันนั้นๆ และให้ประกาศราคานั้นไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานของสหกรณ์

                            (2) กำหนดพนักงานผู้ชั่งและผู้รับตลอดจนความรับผิดชอบในผลิตผลหรือ ผลิตภัณฑ์               ที่รับมอบ

                            (3) เก็บผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่ส่งมอบแยกตามประเภท   ชนิดและ       คุณภาพของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ และลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน

                           (4) ในการรับมอบผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ให้ตรวจสอบปริมาณ คุณภาพและชนิดต่อหน้าผู้ส่งมอบและให้สหกรณ์ออกใบรับให้แก่ผู้ส่งมอบ 1 ฉบับ สำเนาส่งคลังสินค้า 1 ฉบับ แผนกบัญชี 1 ฉบับ และเป็นต้นขั้ว 1 ฉบับ

                                          (5) จัดทำรายงานยอดสินค้าคงเหลือเป็นประจำทุกวันสิ้นเดือนและให้ตรวจนับสินค้าคงเหลือกับทะเบียนสินค้า ถ้าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ใดยากแก่การตรวจนับให้ถือยอดคงเหลือตามทะเบียนสินค้า แล้วส่งแผนกบัญชีตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน

หมวด 2

การจำหน่าย

                ข้อ 9. ในการนำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากที่เก็บสินค้าส่งไปจำหน่ายให้ตรวจสอบปริมาณ คุณภาพ และชนิด เพื่อให้ทราบจำนวนแน่นอนว่าได้นำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ออกจากที่เก็บไปจำนวนเท่าใด   โดยระบุให้ชัดแจ้งในใบส่งของเพื่อเป็นหลักฐานในการลงทะเบียน (ใบส่งของทุก 4 ฉบับ ทำนองเดียวกับ ข้อ 8(4) )

                ข้อ10.ให้สหกรณ์ขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ด้วยเงินสดในราคาท้องตลาดและเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์และสมาชิก โดยชำระราคาทันทีเมื่อส่งมอบ

                ข้อ 11. การรับชำระค่าขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ด้วยเช็คไม่ควรทำ   แต่ในกรณีจำเป็นที่จะต้องรับเช็ค เช็คที่รับไว้จะต้องเป็นเช็คที่ธนาคารรับรอง หรือในกรณีที่เป็นเช็คธนาคารไม่สามารถรับรองได้จะต้องเป็นเช็คที่สั่งจ่ายในวันออกเช็ค และธนาคารได้จ่ายเงินนั้นแล้ว

                ถ้าจำเป็นต้องรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าต้องเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าไม่เกินสามวัน   และจำนวนเงินตามเช็คแต่ละรายรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 50,000 บาท   และคณะกรรมการดำเนินการจะต้องให้ผู้สั่งจ่ายจัดทำหลักประกันที่เป็นทรัพย์สินหรือบุคคลที่เชื่อถือได้มารับอาวัลเช็ค   หรือธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันหนี้สินต่างๆ ที่ชำระด้วยเช็คทั้งหมด

                เมื่อรับเช็คดังกล่าวแล้ว ให้นำเช็คเข้าบัญชีของสหกรณ์ทันที   ใบเสร็จรับเงินที่สหกรณ์ออกให้แก่ผู้จ่ายเช็คให้ระบุว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่เท่าใด และลงวันที่เท่าใด   ทั้งให้กำหนดเงื่อนไขไว้ในใบเสร็จรับเงินว่า “ใบเสร็จรับเงินนี้จะใช้เป็นหลักฐานการชำระหนี้ได้ต่อเมื่อได้รับเงินตามเช็คนั้นแล้ว” และให้จัดทำทะเบียนรับเช็คตามรายละเอียดข้างต้นเพื่อการควบคุมและตรวจสอบการรับเช็คไว้ด้วย

                ข้อ 12. ถ้าจำเป็นต้องขายเงินเชื่อให้ผู้ซื้อทำสัญญาไว้กับสหกรณ์และจะต้องให้ธนาคารค้ำประกันเงินเชื่อนั้น

                ข้อ 13. การขายเชื่อนั้นต้องมีเงื่อนไขการชำระหนี้ในระยะเวลาอันสมควร แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน

                ข้อ 14. การขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ อาจทำได้ดังต่อไปนี้

  • ขายให้แก่ชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น
  • ขายให้แก่ผู้ซื้อในท้องถิ่นที่ให้ราคาสูงสุด และมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ดีที่สุด
  • ขายในตลาดอื่นๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน (2)

หมวด 3

การขนส่ง

                ข้อ 15. เพื่อความสะดวกในการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมาเก็บไว้ที่ฉาง หรือเพื่อความสะดวกในการนำผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายยังตลาดให้ใช้ยานพาหนะของสหกรณ์หรือจัดจ้างยานพาหนะของเอกชนในราคาท้องตลาดเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน  2556            

                                                     ลงชื่อ                   บุญเทศ   บรรฑิตย์                                                    

( นายบุญเทศ บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 124 ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ               ชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์ พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด   ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีกำหนดไว้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

หมวด 1

การซื้อขายและการทำสัญญา

                ข้อ 4. ผู้มีสิทธิซื้อรถจักรยานยนต์ตามระเบียบนี้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                            4.1 เป็นพนักงานสหกรณ์และปฏิบัติงานเป็นพนักงานสหกรณ์นี้ไม่น้อยกว่า 1 ปี

                            4.2 เป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์

                            4.3 เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 55 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ยื่นแบบแสดงความจำนงขอซื้อรถจักรยานยนต์

  • ต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความสามารถผ่อนชำระราคารถจักรยานยนต์ได้

                ข้อ 5. ในการทำสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ ผู้ซื้อต้องมีหลักประกันดังนี้

                            5.1 มีบุคคลซึ่งมีอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง มีมูลค่าไม่น้อยกว่าหนี้ตามสัญญาซื้อขายนี้ และคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ค้ำประกัน

                            5.2 เป็นผู้มีหลักทรัพย์มาเป็นประกันมูลค่าไม่น้อยกว่าราคารถจักรยานยนต์ที่ซื้อ หรือ

                            5.3 หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ในวงเงินไม่ต่ำกว่าราคารถจักรยานยนต์               ที่ซื้อ โดยใช้แบบหนังสือค้ำประกันที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด

                ข้อ 6. พนักงานสหกรณ์ที่มีความประสงค์จะขอซื้อรถจักรยานยนต์ให้ยื่นความจำนงเป็นหนังสือต่อประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 4   และเป็นผู้สมควรที่จะซื้อได้ ให้นำคำขอซื้อเสนอให้คณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติ

                ข้อ 7. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติแล้ว   ให้ประธานกรรมการเรียกผู้ยื่นความจำนงและ         ผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันตามแบบที่สหกรณ์กำหนด โดยสหกรณ์จะมอบอำนาจให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ขายแทนสหกรณ์ต่อไป

                ข้อ 8. ให้ประธานกรรมการทำหนังสือสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกัน รายละ 2 ชุด โดยให้ ผู้ซื้อเก็บคู่ฉบับสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันไว้ 1 ชุด สหกรณ์เก็บต้นฉบับสัญญาซื้อและหนังสือค้ำประกันไว้ 1 ชุด

                ข้อ 9. ให้สหกรณ์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากพนักงานสหกรณ์ผู้ซื้อในอัตราไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้กำหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและประกาศดอกเบี้ยให้ทราบเป็นคราวๆ

หมวด 2

การรับ การส่งมอบ และการผ่อนชำระ

                ข้อ 10. ในสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ จะต้องมีข้อความที่ระบุให้ผู้ซื้อต้องนำรถ         จักรยานยนต์ที่ซื้อไปใช้ในหน้าที่ของตนด้วย   และให้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์เป็นของ สหกรณ์และสหกรณ์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อต่อเมื่อผู้ซื้อได้ผ่อนส่งราคารถจักรยานยนต์พร้อมดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันเรียบร้อยแล้ว ให้ประธานกรรมการส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้ผู้ซื้อทันที โดยจัดทำใบรับส่งมอบตามแบบที่สหกรณ์กำหนดเป็นจำนวน 2 ฉบับ

                ข้อ 11. ให้ผู้จัดการหักเงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ผู้ซื้อมีสิทธิ์ได้รับจากสหกรณ์เพื่อผ่อนชำระดอกเบี้ยก่อนแล้วจึงชำระราคาจักรยานยนต์ตามจำนวนเงินและกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาจนกว่าจะครบราคารถจักรยานยนต์ที่ซื้อขาย โดยหักตามแบบผ่อนชำระเงินที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนดระยะเวลาในการผ่อนชำระราคารถจักรยานยนต์ให้มีกำหนดไม่เกิน 40 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีการส่งมอบรถจักรยานยนต์

                ข้อ 12. ในกรณีรถจักรยานยนต์สูญหายหรือเสียหายจนใช้การไม่ได้ หรือผู้ซื้อถึงแก่กรรม หรือต้องออกจากสหกรณ์ด้วยเหตุใดก็ตามให้ถือว่าหนี้ค่ารถจักรยานยนต์ที่ผู้ซื้อยังค้างชำระอยู่เป็นอันถึงกำหนดชำระโดยสิ้นเชิง นับแต่วันที่รถจักรยานยนต์สูญหายหรือเสียหาย หรือนับแต่วันที่ผู้ซื้อถึงแก่กรรมหรือออกจากสหกรณ์และผู้ซื้อต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระให้ครบถ้วนสิ้นเชิงทันที หรือภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผันให้

                ในกรณีหนี้ถึงกำหนดชำระตามวรรคแรก ผู้ซื้อต้องยินยอมให้สหกรณ์หักเงินเดือนหรือเงินบำเหน็จ หรือเงินอื่นใดที่ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับจากสหกรณ์ได้ทันที   โดยไม่ต้องให้ความยินยอมอีกเพื่อชำระราคาจักรยานยนต์ที่ยังค้างชำระอยู่

                ข้อ 13. ให้ผู้จัดการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อตามจำนวนเงินที่หักไว้หรือรับชำระไว้โดยให้มีสำเนา 2 ฉบับ   ฉบับหนึ่งให้ติดไว้กับเล่ม อีกฉบับหนึ่งให้ลงบัญชีสหกรณ์

                ข้อ 14. ผู้ซื้อต้องนำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในงานสหกรณ์ โดยมีหลักฐานไว้ให้ตรวจสอบได้และให้เบิกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากสหกรณ์ได้

                ข้อ 15. ห้ามผู้ซื้อที่ยังทำงานในสหกรณ์จำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ซื้อตามระเบียบนี้ให้บุคคลอื่นตลอดระยะเวลาที่ยังค้างชำระราคารถจักรยานยนต์

                ข้อ 16. พนักงานสหกรณ์คนหนึ่งจะซื้อรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งจากสหกรณ์ได้เพียง 1 คัน เว้นแต่ได้ใช้ประโยชน์ในรถจักรยานยนต์นั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย แต่ถ้าเกิดกรณีเสียหายหรือสูญหายหรืออุบัติเหตุสุดวิสัยอื่นจนทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้และไม่มีหนี้ค้างชำระ จึงจะซื้อผ่อนส่งได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดำเนินการ

หมวด 3

การควบคุม

                ข้อ 17. ให้ผู้จัดการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ซื้อรถจักรยานยนต์แยกเป็นรายบุคคล โดยระบุชื่อผู้ซื้อ ชนิดรถ แบบรถ หมายเลขเครื่อง หมายเลขทะเบียนปริมาตรในกระบอกสูบ จำนวนเงินที่ผ่อนชำระแล้ว และจำนวนเงินดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ แล้วดำเนินการสรุปยอดรายงานให้คณะกรรมการดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน

หมวด 4

การเบิก – จ่ายเงิน

                ข้อ 18. ให้สหกรณ์เปิดบัญชีหมุนเวียนไว้ที่ธนาคาร เรียกว่า “บัญชีเงินทุนเพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์”

                ข้อ 19. เงินที่จะเข้าบัญชีนี้ คือ

                                19.1 เงินที่คณะกรรมการดำเนินการอนุมัติให้ใช้สำหรับการนี้ในคราวแรก แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ต้องไม่ใช่เงินที่สหกรณ์ขอกู้มาหรือเงินอื่นใดที่สหกรณ์จะต้องจ่ายดอกเบี้ย

                                19.2 เงินที่ได้จากการขายรถจักรยานยนต์ให้แก่พนักงานสหกรณ์

                                19.3 รายได้อื่นๆ

                ข้อ 20. เงินที่ได้ตามข้อ 19.2 และ 19.3 ให้ผู้จัดการนำส่งเงินเข้าบัญชีเงินทุนเพื่อซื้อขายรถ จักรยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงานสหกรณ์ที่ธนาคารภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงิน

                ข้อ 21. เงินทุนนี้ให้จ่ายได้เฉพาะเป็นค่าซื้อรถจักรยานยนต์สำหรับพนักงานสหกรณ์เท่านั้น

                ข้อ 22. ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายประจำปีขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาอนุมัติ

                ข้อ 23. การดำเนินการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 1 ชุด   ประกอบด้วย   ประธานคณะอนุกรรมการ 1 คน   และอนุกรรมการ 2 คน ทำหน้าที่สืบราคาและจัดซื้อ

                ข้อ 24. สหกรณ์จะต้องจัดซื้อรถจักรยานยนต์ที่ใหม่ด้วยวิธีเงินสดและรับโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์เป็นของสหกรณ์ให้เรียบร้อยเสียก่อน

                ข้อ 25. การกำหนดราคาขายรถจักรยานยนต์ผ่อนส่งที่จัดซื้อมานั้นให้เป็นไปตามราคาที่ สหกรณ์จัดซื้อแต่ละครั้ง

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน   2556            

                                         ลงชื่อ           บุญเทศ   บรรฑิตย์                                          

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยการใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ข้อ 124 (10) ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด   ว่าด้วยการใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีกำหนดไว้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

ประวัติสมาชิกสหกรณ์

                ข้อ 4. สหกรณ์จะต้องบันทึกประวัติสมาชิกสหกรณ์ทุกคนลงในแผ่นทะเบียนโดยแยกออกเป็นแผ่นละ 1 คน

                ข้อ 5. แผ่นทะเบียนประวัติจะประกอบไปด้วย ชื่อ – นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด เชื้อชาติ สัญชาติ   ศาสนา   เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน   ที่อยู่   ชื่อบิดา มารดา   คู่สมรส   การเข้าเป็นสมาชิก การถือครองที่ดิน บทบาททางสหกรณ์ บทบาททางสังคม   รูปถ่ายประกอบลายมือชื่อ และลายพิมพ์นิ้วมืออื่นถ้านิ้วหัวแม่มือซ้ายไม่มี

สถิติธุรกิจต่างๆ

                ข้อ 6. สหกรณ์จะต้องบันทึกการทำธุรกิจของสมาชิกกับสหกรณ์ประจำทุกปีในแผ่นทะเบียนหน้าที่ 2 ถัดจากประวัติสมาชิกสหกรณ์

                ข้อ 7. สถิติธุรกิจในแผ่นทะเบียนจะแบ่งธุรกิจออกเป็น 6 ประเภท ตามข้อ 7. เพื่อให้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาให้คะแนน

                ข้อ 8. การให้คะแนนในการประเมินผลจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน สหกรณ์จะกำหนดคะแนนในแต่ละประเภทดังนี้

                ประเภทที่ 1          ธุรกิจเครดิต คะแนนเต็ม 10 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

                                                (1) ถ้ามีการกู้เงินสหกรณ์ให้คะแนน   20     คะแนน ทันที

                                                (2) ถ้าวันสิ้นปีมีหนี้ผิดสัญญาค้างชำระถูกตัด   5        คะแนน

                                                (3) ถ้าวันสิ้นปีมีดอกเบี้ยค้างชำระจะถูกตัด   5  คะแนน         

                ประเภทที่ 2          ธุรกิจซื้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

  • ในระหว่างปีมียอดซื้อสินค้าจากสหกรณ์ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท
    ได้คะแนน 10 คะแนน
  • ซื้อสินค้าสหกรณ์มากกว่าสองพันบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 คะแนน
  • ซื้อสินค้าสหกรณ์น้อยกว่าสองพันบาทให้ลดลงร้อยละ 1 คะแนน

                ประเภทที่ 3          ธุรกิจขาย คะแนนเต็ม 10 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

  • ในระหว่างปีมียอดขายพืชผลหรือผลิตภัณฑ์ให้สหกรณ์ มูลค่า 10,000 บาท ให้คะแนน 5 คะแนน
  • ขายสินค้าให้สหกรณ์มากกว่าหนึ่งหมื่นบาทเพิ่มพันละ 1 คะแนน

                ประเภทที่ 4          การระดมทุน ประเภทค่าหุ้น คะแนนเต็ม 10 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

  • ในระหว่างปีถือหุ้นชนิดหุ้นแห่งเงินกู้ได้ 7 คะแนน
  • ในระหว่างปีถือหุ้นชนิดขอถือหุ้นเพิ่มด้วยความสมัครใจจะได้ 3 คะแนน

                ประเภทที่ 5          การระดมทุน ประเภทเงินฝาก คะแนนเต็ม 10 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

  • ในระหว่างปีมีเงินฝากสหกรณ์ 5,000 บาท ได้คะแนน 5 คะแนน
  • ในระหว่างปีมีเงินฝากเพิ่มมากกว่าห้าพันบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 คะแนน
  • สมาชิกมีเงินฝากสหกรณ์ต่อเนื่อง 3 ปี ในประเภทออมทรัพย์พิเศษและ           ไม่เคยถอนได้คะแนน 3 คะแนน

                ประเภทที่ 6          การเข้าประชุม (ประชุมกลุ่ม และประชุมใหญ่) คะแนนเต็ม 30 คะแนน พิจารณาให้คะแนนดังนี้

  • การประชุมกลุ่มสมาชิก คะแนนเต็ม 20 คะแนน
  • การประชุมใหญ่สามัญและวิสามัญ คะแนนเต็ม 10 คะแนน
  • ให้เทียบบัญญัติไตรยางศ์ จากการเข้าประชุมจริงและผู้แทนเข้าร่วมประชุมใหญ่กับจำนวนครั้งที่มีการประชุมทั้งปีจริง ผลลัพธ์ คือ คะแนนที่ได้รับ

                ข้อ 9. พนักงานสหกรณ์ผู้รับผิดชอบในแต่ละธุรกิจเป็นผู้บันทึกการติดต่อธุรกิจของสมาชิกแต่ละคนที่มาติดต่อสหกรณ์ทุกครั้ง ในแต่ละรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์

                ข้อ 10. เมื่อสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ให้พนักงานบัญชี เป็นผู้รวบรวมข้อมูลในแต่ละธุรกิจจากพนักงานสหกรณ์ตามข้อ9. รวมกับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ รวมกัน

                พิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 8. แล้วจึงนำไปบันทึกในแผ่นทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์

                ข้อ 11. ให้ผู้จัดการสหกรณ์หรือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของคะแนนในแผ่นทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์

                ข้อ 12. การประเมินผล ให้สหกรณ์นำผลคะแนนข้อ 10. ไปพิจารณาประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนางานของสหกรณ์ต่อไป

การใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์

                ข้อ 13. ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองคะแนนสมาชิกแต่ละคน โดยพิจารณาจากแผ่นทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาช่วยเหลือสมาชิกจากสหกรณ์

                ข้อ 14. สหกรณ์จะนำผลที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแล้วตามข้อ 13. ไปพิจารณาการช่วยเหลือระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์ในด้านต่างๆ เพื่อให้บริการหรืออื่นๆ ตามการจัดชั้นสมาชิก สหกรณ์ต่อไป

                ข้อ 15. สหกรณ์จะนำผลการให้คะแนนตามแห่งระเบียบนี้ ไปประกอบกับการจัดชั้นสมาชิกสหกรณ์เพื่อการช่วยเหลือแห่งธุรกิจเครดิตหรือด้านอื่นๆ จากสหกรณ์แก่สมาชิกต่อไป

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

                                                       ลงชื่อ          บุญเทศ บรรฑิตย์                                                          

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                 สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วย การควบคุมและการใช้รถยนต์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 124 ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ                  ชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการควบคุมและการใช้รถยนต์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการควบคุมและการใช้รถยนต์ พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วย การควบคุมและการใช้รถยนต์ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีกำหนดไว้ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

หมวด 1

การควบคุมและการใช้รถยนต์

หน้าที่ ความรับผิดชอบและการขับรถยนต์ของพนักงานขับรถยนต์

               

                ข้อ 4. พนักงานขับรถยนต์ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับพระราชบัญญัติจราจรทางบกและกฎที่ออกตามพระราชบัญญัติ ตลอดจนข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ และมติของคณะกรรมการ

                ข้อ 5. พนักงานขับรถยนต์ จะต้องตรวจรถยนต์เป็นประจำเพื่อความปลอดภัยและเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อใช้ได้ทันท่วงที สิ่งที่ควรตรวจสอบมีดังนี้

                                5.1 ตรวจดูน้ำมันให้มีเพียงพอกับการใช้งาน

                                5.2 ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง ควรเติมน้ำมันเครื่องให้ได้ระดับ อย่าให้เกินขีดระดับ เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย และในกรณีเดินทางไกลควรมีน้ำมันเครื่องอะไหล่ไว้ให้เพียงพอ

                                5.3 ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ ต้องให้มีน้ำเต็มอยู่เสมอ และห้ามเติมน้ำในเวลาน้ำเดือดพล่านหรือน้ำแห้ง เครื่องยนต์จะร้อนจัด

  • ตรวจดูน้ำกรดและขั้วหม้อแบตเตอรี่ ต้องอย่าให้น้ำกรดแห้ง ถ้าระดับน้ำกรดน้อยควรเติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ให้ได้ระดับเหนือแผ่นธาตุ และต้องคอยทำความสะอาดขั้วหม้อแบตเตอรี่เสมอ
  • ตรวจดูรอยรั่วของน้ำและน้ำมันต่างๆ ถ้ามีการรั่ว ควรแก้ไขซ่อมแซมให้ดีเสียก่อนที่จะนำรถออกใช้
  • ติดเครื่องตรวจดูการทำงานของเครื่องยนต์ และตรวจมาตรวัดต่างๆ เช่น
    ไฟชาร์ตความดัน น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ว่าปกติหรือไม่ ถ้าเกิดการขัดข้องต้องรายงาน   ผู้บังคับบัญชาทันที
  • ตรวจดูน้ำมันห้ามล้อและห้ามล้อว่ามีน้ำมันเพียงพอและใช้การได้ดีหรือไม่
  • ตรวจดูคันส่งคันชัก เกียร์ และพวงมาลัยให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้โดยปลอดภัย
  • วัดความดันและสูบลมให้ได้ขนาดความดันของลมตามกำหนดขนาดของยาง
  • ตรวจดูไฟทุกดวงให้แน่ใจว่าใช้งานได้ตามปกติ
  • พนักงานขับรถยนต์ต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ติดตัวอยู่เสมอ

ข้อ 6. เมื่อเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์   ห้ามเร่งเครื่องโดยแรงหรือทันทีทันใดควรค่อยๆ เร่งและตรวจดูมาตรวัดต่างๆ ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่

ข้อ 7. การเคลื่อนรถยนต์ออกควรใช้เกียร์หนึ่งทุกครั้ง และต้องออกรถยนต์ด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการกระตุกหรือสั่นสะเทือน ให้รถยนต์เคลื่อนไปโดยอาการสม่ำเสมอ การหยุดรถก็เช่นเดียวกัน

ข้อ 8. การเข้าเกียร์หรือการเปลี่ยนเกียร์ ให้ระมัดระวังอย่าให้เกิดเสียงเนื่องจากการเสียดสีของฟันเฟืองเป็นอันขาดให้เข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ด้วยความระมัดระวัง

ข้อ 9. พนักงานขับรถยนต์ ต้องคอยสังเกตดูมาตรวัดต่างๆ ในขณะที่รถยนต์กำลังวิ่งอยู่ เช่น ความดันน้ำมันเครื่อง ความร้อน ไฟชาร์ตและอื่นๆ อยู่เสมอ   ถ้าเกิดการชำรุดหรือขัดข้องต้องจอดรถตรวจดูความบกพร่อง ถ้าแก้ไขได้ควรดำเนินการทันที   และห้ามเหยียบคลัชเป็นที่พักเท้า

ข้อ 10. ห้ามขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง ให้รู้จักใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับสถานที่และสภาพของถนน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและกฎจราจรเป็นสำคัญ   และไม่ควรใช้เกียร์สูงในขณะที่ความเร็วของรถต่ำ ควรใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ และถ้าเครื่องยนต์มีเสียงเคาะจะต้องลดเกียร์ให้ต่ำกว่าเกียร์ที่ใช้อยู่

ข้อ 11. รถยนต์ใหม่หรือรถยนต์ที่ยกเครื่องใหม่ภายใน 1,000 กม. ห้ามใช้ความเร็วเกินกว่า                      40 กม. ต่อชั่วโมง และระหว่าง 1,000 ถึง 2,000 กม. ห้ามใช้ความเร็วเกินกว่า 80 กม. ต่อชั่วโมง

ข้อ 12. ห้ามพนักงานขับรถยนต์แก้ไข ดัดแปลง หรือตบแต่งรถยนต์ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเว้นแต่เกิดเหตุขัดข้องหรือชำรุดระหว่างทาง   จึงอนุญาตให้แก้ไขได้เป็นครั้งคราว ถ้าเห็นว่าสิ่งใดควรแก้ไขให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ช่างมาจัดการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย

ข้อ 13. ทุกครั้งที่มีการตรวจและได้แก้ไขหรือตบแต่ง ตลอดจนการซ่อมเครื่องยนต์หรือส่วนใดของรถยนต์   ให้ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อลงทะเบียนประวัติการซ่อมไว้เป็นสถิติ

ข้อ 14. พนักงานขับรถยนต์จะให้ผู้อื่นขับรถยนต์ของตนไม่ได้เป็นอันขาด นอกจากได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา โดยผู้อนุญาตจะต้องรับผิดชอบทุกประการหากปรากฏความเสียหายขึ้น

ข้อ 15. พนักงานขับรถยนต์ต้องขับรถยนต์ด้วยความระมัดระวัง   ห้ามแซงรถคันอื่นโดยไม่จำเป็นควรทิ้งระยะห่างระหว่างคันรถข้างหน้าอย่างน้อย 10 เมตร และห้ามแซงรถคันอื่นในทางโค้งบนสะพานหรือในที่คับขัน

ข้อ 16. เมื่อรถยนต์วิ่งใกล้จะถึงทางแยก หรือทางรถไฟ ให้ลดความเร็วของรถยนต์ไม่เกิน 10 – 12 กม. ต่อชั่วโมง และเมื่อถึงทางแยกหรือทางรถไฟให้ลดความเร็วลงอีกหรือหยุดมองดูซ้ายขวา เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงค่อยๆ ขับเคลื่อนต่อไป   ในกรณีฝนตกถนนลื่นให้ใช้การเปลี่ยนเกียร์แทนการห้ามล้อ

ข้อ 17. รถยนต์ที่จะเลี้ยวเข้าทางแยก   เลี้ยวเข้าซอยหรือตรอก หรือรถยนต์ที่ออกจากซอยหรือตรอก   ให้ชะลอรถยนต์ให้ช้าที่สุดหรือหยุดพร้อมกับให้อาณัติสัญญาณเมื่อเห็นว่าปลอดภัย จึงขับเคลื่อนต่อไป

ข้อ 18. เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือรถยนต์เกิดชนกัน ห้ามนำรถยนต์แยกออกจากกันจนกว่า     เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาวัดสถานที่เกิดเหตุให้เรียบร้อยเสียก่อน ในกรณีเช่นนี้ให้พนักงานขับรถยนต์ทำรายงานโดยละเอียดและทำแผนที่สังเขปแสดงที่อยู่ของรถยนต์ก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุและเส้นทางรอยล้อรถยนต์ของตนเองและของผู้เสียหาย ตลอดจนรอยล้อรถยนต์จากริมถนนกับ
ความกว้างของถนน ที่อยู่ของบุคคลหรือรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย ลงวัน เวลา ที่เกิดเหตุ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่จะเป็นพยานได้     ชื่อ ที่อยู่ของผู้ได้รับบาดเจ็บ   ชื่อที่อยู่เจ้าของรถหมายเลขทะเบียนของรถยนต์ที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุแล้วรีบแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที

ข้อ 19. เมื่อผู้บังคับบัญชาทราบเหตุให้รีบไปยังสถานที่เกิดเหตุเพื่อจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรโดยทันที

ข้อ 20. พนักงานขับรถยนต์จะเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ตลอดจนเครื่องประกอบของรถยนต์ให้ผิดแบบไปจากเดิมไม่ได้ เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเสียก่อน

ข้อ 21. ในการจอดคอย ผู้ใช้รถยนต์จะต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง และให้อยู่เฝ้ารถยนต์ตลอดเวลา ห้ามทิ้งรถยนต์โดยไม่มีผู้อยู่เฝ้า

ข้อ 22. เมื่อรถยนต์จะเคลื่อนออกจากที่จอด หากจำเป็นต้องถอยหลังให้ตรวจดูเสียก่อน และให้ถอยหลังโดยความระมัดระวัง

ข้อ 23. ห้ามรับบุคคลอื่นร่วมทางไปกับรถยนต์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รถยนต์เท่านั้น

ข้อ 24. ถ้าพนักงานขับรถยนต์ได้รับคำสั่งให้ออกไปทำการอย่างหนึ่งอย่างใด   เมื่อเสร็จงานนั้นต้องรีบนำรถยนต์มาเก็บไว้ที่สหกรณ์ทันที

ข้อ 25. ถ้าสินค้าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งในรถยนต์ตกหายระหว่างทาง ให้พนักงานขับรถยนต์แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่นแล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันทีเมื่อนำรถกลับมาถึงสหกรณ์

ข้อ 26. ถ้าพนักงานขับรถยนต์คนใดอนุญาตหรือยินยอมให้ผู้อื่นขับรถยนต์แล้วเกิดการ เสียหายหรือเกิดเหตุใดๆ ขึ้น ถือว่าเป็นความผิดของพนักงานขับรถยนต์ผู้นั้น ซึ่งจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย และต้องถูกพิจารณาโทษในสถานหนักอีกด้วย

หมวด 2

ว่าด้วยการรักษารถยนต์ซึ่งพนักงานขับรถยนต์จะพึงปฏิบัติ

                ข้อ 27. พนักงานขับรถยนต์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในรถยนต์ของตนตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ประจำรถยนต์ หากปรากฏว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดชำรุดหรือเสียหายโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังแล้ว จะต้องรับชดใช้สิ่งของนั้นๆ

                ข้อ 28. พนักงานขับรถยนต์ต้องทำการล้างรถยนต์และเช็ดรถยนต์ให้สะอาดอยู่เสมอ

                ข้อ 29. เมื่อจะต้องเดินทางไกล ให้พนักงานขับรถยนต์ตรวจรถยนต์และเตรียมเครื่องมือไว้ให้พร้อม ตลอดจนเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอกับระยะทางที่จะไป

                ข้อ 30. พนักงานขับรถยนต์จะต้องระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดจากไฟให้จงหนัก เช่น ขณะเติมน้ำมันห้ามสูบบุหรี่ หรือระวังไม้ให้ผู้สูบบุหรี่เข้าใกล้

หมวด 3

มารยาทของพนักงานขับรถยนต์ซึ่งพนักงานขับรถยนต์พึงปฏิบัติ

 

                ข้อ 31. พนักงานขับรถยนต์ต้องทำตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะต่อผู้บังคับบัญชาและผู้อื่น

                ข้อ 32. พนังงานขับรถยนต์ต้องแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อย

                ข้อ 33. พนักงานขับรถยนต์ต้องไม่สูบบุหรี่ในขณะขับรถยนต์

                ข้อ 34 พนักงานขับรถยนต์ไม่เสพสุราหรือของมึนเมาขณะขับรถยนต์

                ข้อ 35. พนักงานขับรถยนต์ต้องไม่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงจนเป็นที่หวาดเสียวแก่ผู้ใช้รถยนต์

                ข้อ 36. พนักงานขับรถยนต์ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน  2556            

ลงชื่อ       บุญเทศ บรรฑิตย์

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

   ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วย คณะอนุกรรมการ

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ข้อที่ 104 และข้อที่ 124 (10) ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบ               ว่าด้วยคณะอนุกรรมการ โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด   ว่าด้วยคณะอนุกรรมการ                พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556   เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยอนุกรรมการ พ.ศ. 2546                    ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

หมวด 1

จำนวนและการดำรงตำแหน่ง

 

                ข้อ 4. ในกรณีจำเป็นแก่การดำเนินงาน คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งอนุกรรมการต่างๆ เพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ภายในสหกรณ์อนุกรรมการแต่ละคณะให้มีจำนวนอย่างน้อยสามคน   และอย่างมากไม่เกินห้าคนโดยแต่งตั้งจากกรรมการดำเนินการ หรือสมาชิก หรือผู้แทนสมาชิกก็ได้ และให้เป็นเลขานุการหนึ่งคน

                ข้อ 5. การดำรงตำแหน่ง ให้คณะอนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละหนึ่งปีทางบัญชีทาง สหกรณ์ เมื่อครบกำหนดแล้วถ้ายังไม่มีการเลือกตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ ก็ให้คณะอนุกรรมการชุดเดิมอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่

                                คณะอนุกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งไปนั้น อาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ

                ข้อ 6. คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

                ข้อ 7. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ ถ้าจำเป็นจะต้องมีการประชุม ให้ประธานคณะอนุกรรมการหรือเลขานุการคณะอนุกรรมการนัดเรียกประชุมได้   ในการประชุมคณะอนุกรรมการต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด

                ประธานในที่ประชุม การออกเสียง การวินิจฉัยปัญหาและรายงานการประชุม
ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 105, 106, 107, และ 108

หมวด 2

การพ้นจากตำแหน่ง

 

                ข้อ 8. การพ้นจากตำแหน่ง อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะหรือรายตัว เพราะเหตุใดๆ ดังต่อไปนี้

  • ถึงคราวออกตามวาระ
  • ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
  • ขาดจากสมาชิกภาพ
  • ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
  • ดำรงตำแหน่งพนักงานหรือลูกจ้าง
  • ขาดประชุมคณะอนุกรรมการติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  • เมื่อคณะกรรมการดำเนินการที่แต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ 9. ตำแหน่งว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระให้คณะอนุกรรมการนั้นแม้ตำแหน่งจะว่างลงบ้าง     อนุกรรมการที่มีอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งแทนในตำแหน่งที่ว่าง     แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนอนุกรรมการลดลงเหลือน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดที่แต่งตั้งอนุกรรมการที่เหลืออยู่จะปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ไม่ได้   จนกว่าจะมีการแต่งตั้งอนุกรรมการคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง

อนุกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นแทนในตำแหน่งที่ว่าง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าระยะเวลาที่ตนแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

ลงชื่อ       บุญเทศ บรรฑิตย์

( นายบุญเทศ บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับสหกรณ์ข้อ 124 (10) ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ               ชุดที่ 36 ครั้งที่ 8   เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1.ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์                    พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

                ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. ในระเบียบนี้

                                สหกรณ์ หมายความว่า สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นิคม
ชัยบาดาล จำกัด

                                คณะอนุกรรมการ หมายความว่า กรรมการหรือสมาชิกสหกรณ์ที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย

                                ลูกหนี้ หมายความว่า สมาชิกที่มีหนี้เงินกู้กับสหกรณ์ หรือผู้ที่เข้ารับใช้หนี้แทนสมาชิกที่มีหนี้เงินกู้กับสหกรณ์

                ข้อ 5. วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีดังต่อไปนี้

  • เพื่อผ่อนคลายภาระหนักในการชำระหนี้ของลูกหนี้
  • เพื่อช่วยพัฒนาหรือปรับปรุงหรือฟื้นฟูการประกอบอาชีพของลูกหนี้
  • เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และเป็นการพัฒนา คุณภาพหนี้ของสหกรณ์

ข้อ 6. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สหกรณ์จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะลูกหนี้ของ
สหกรณ์ตามความหมายที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เท่านั้น

ข้อ 7. ลักษณะหนี้ที่จะนำมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีดังนี้

กำหนดให้นำหนี้จากบัญชีของลูกหนี้มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นหนี้ที่ลูกหนี้ได้รับสิทธิพิเศษ   หรือหนี้ที่สหกรณ์ได้รับเงินค่าบริหารโครงการ โดยหนี้ที่จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องมีลักษณะ ดังนี้

  • เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ มีอยู่กับสหกรณ์เท่านั้น
  • หนี้ที่มีอยู่เป็นภาระหนักโดยพิจารณางบกระแสเงินสดของลูกหนี้
    แล้ว ปรากฏว่ามีรายได้คงเหลือสุทธิไม่เพียงพอชำระหนี้
  • หนี้นั้นเป็นภาระหนักเกิดจากเหตุสุจริตและจำเป็น ได้แก่สาเหตุจากภัยธรรมชาติ    ภัยพิบัติ   และสาเหตุจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ

ข้อ 8. ลักษณะของลูกหนี้ที่จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ที่จะขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ยังทำการประกอบอาชีพได้ตามปกติ
  • มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ดีด้วย
  • มีความตั้งใจ และมีแผนปรับปรุงฟื้นฟูการประกอบอาชีพ
  • สมัครใจ และยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ข้อ 9. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้   วิธีการดังต่อไปนี้

  • รวมต้นเงินเป็นหนี้คงเหลือตามบัญชีที่มีอยู่ทุกบัญชี แล้วขยายระยะเวลา
    ชำระหนี้ออกไปตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย

การขยายระยะเวลาดังกล่าวตามวรรคแรก จะกำหนดให้มีระยะเวลาที่ลูกหนี้
ยังไม่ต้องชำระคืนเงินก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ปีแรก

                                (2) รวมดอกเบี้ยเงินกู้ และเบี้ยปรับที่ยังไม่ได้ชำระของทุกบัญชีที่มีอยู่เข้าด้วยกันเป็นต้นเงินแล้วขยายเวลาชำระหนี้ออกไปตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้แต่ละราย
โดยได้รับคำยินยอมจากลูกหนี้ผู้ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้

                                        การขยายระยะเวลาดังกล่าวในวรรคแรก จะกำหนดให้มีระยะเวลาที่ลูกหนี้ยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ย และเบี้ยปรับก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ปีแรก

                                        ในกรณีที่จำเป็นและสมควร คณะกรรมการจะงดคิดเบี้ยปรับที่ยังไม่ได้ชำระ
ที่มีอยู่ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้

                                (3) ให้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ วิธีการให้เงินกู้ ให้ถือใช้ตามระเบียบ
ว่าด้วยการให้เงินกู้ และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ โดยอนุโลม

                                การจัดทำคำขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และหนังสือกู้เงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด

                ข้อ 10. จำนวนเงินกู้ขั้นสูง

                                10.1 วงเงินกู้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะเกินมูลหนี้เดิมคือ ต้นเงินเดิม รวมดอกเบี้ยและค่าปรับคงเหลือตามสัญญาเดิมไม่ได้

                                10.2 วงเงินกู้เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์

                                วงเงินกู้ตามข้อ 10.2 เมื่อรวมกับวงเงินกู้ตามข้อ 10.1 ต้องไม่เกินวงเงินกู้ตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้ และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์

                ข้อ 11. ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

                                11.1 ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องไม่เกิน 15   ปี              นับแต่วันอนุมัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

                                11.2 ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้ และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ โดยอนุโลม

                ข้อ 12. อัตราดอกเบี้ย

                                (1) ต้นเงินที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามข้อ 9 (1) ให้เรียกดอกเบี้ย
ในอัตราที่เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้ และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์

                                กรณีที่ลูกหนี้ผู้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ชำระคืนต้นเงินทั้งหมด หรือบางส่วนให้ สหกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือปรับปรุงโครงสร้างหนี้   สหกรณ์จะเรียกค่าปรับสำหรับเงินส่วนที่มิได้ชำระตามกำหนดนั้นในอัตราร้อยละ 3 นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย
ที่กำหนด

  • ต้นเงินที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมดอกเบี้ยและ
    ค่าปรับเดิมตามข้อ 9 (2) ให้คิดอัตราร้อยละ 0

                                กรณีลูกหนี้ผู้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ชำระคืนดอกเบี้ยและค่าปรับทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สหกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือปรับปรุงโครงสร้างหนี้
และคณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการเรียกดอกเบี้ยของต้นเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้   สหกรณ์จะเรียกดอกเบี้ยสำหรับเงินที่มิได้ชำระตามกำหนดในอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการ
ให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์   และสหกรณ์จะเรียกค่าปรับสำหรับเงินส่วนที่มิได้ชำระตามกำหนดนั้นในอัตราร้อยละ 3 นับตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ

                                กรณีที่ลูกหนี้ผู้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประสบความเสียหายอันเนื่องจากประสบ               ภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติอย่างร้ายแรง หรือประสบเหตุอย่างอื่นที่ลูกหนี้มิได้ก่อให้เกิดขึ้นเอง หรือความเสียหายที่ลูกหนี้ก่อให้เกิดกับผลผลิตของตนเอง โดยมิได้ประมาทเลินเล่อให้คณะกรรมการ มีอำนาจงดเรียกดอกเบี้ยเพิ่มตามวรรคสองได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควร

                ข้อ 13. หลักประกันเงินกู้เพื่อปรับปรุงหนี้ให้ใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกันตามลำดับ ดังนี้

                                (1) มีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่นจำนองเป็นหลักประกัน                   โดยคณะกรรมการได้สอบสวนเป็นที่พอในว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาตลาดตามที่คณะกรรมการประเมิน ณ ปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2 เท่าของต้นเงินกู้ที่ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 2 เท่า ต้องจัดหาอสังหาริมทรัพย์จำนองเพิ่มเติม หากไม่สามารถจัดหาได้อนุโลมให้ใช้หลักประกันดังกล่าวได้   ทั้งนี้ ราคาตลาดที่คณะกรรมการประเมิน ณ ปัจจุบัน ต้องไม่น้อยกว่าจำนวนหนี้ต้นเงินกู้ที่ขอปรับปรุงหนี้

                                (2) มีสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรทำหนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันอย่างน้อย 5 คน   โดยจำนวนหนี้ต้นเงินเดิมของลูกหนี้แต่ละรายต้องไม่เกิน 50,000 บาท

                                (3) มีสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรเป็นผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน   โดยจำนวนหนี้ต้นเงินเดิมของลูกหนี้แต่ละรายต้องไม่เกิน 50,000 บาท

                ข้อ 14. หลักประกันเงินกู้เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ

                                ให้ใช้หลักประกันตามลำดับ ดังนี้

                                (1) มีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่นจำนองเป็นประกัน โดยคณะกรรมการได้สอบสวนเป็นที่พอใจว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาตลาดตามที่คณะกรรมการประเมิน ณ ปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจำนวนเงินกู้ กรณีราคาประเมินน้อยกว่า 2 เท่า แต่ไม่น้อยกว่าจำนวนเงินกู้   ลูกหนี้ต้องจัดให้มีสมาชิกหรือบุคคล ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นสมควรเป็นผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน การค้ำประกัน ต้องค้ำประกันเท่ากับจำนวนเงินกู้

                                กรณีลูกหนี้ไม่สามารถจัดหาอสังหาริมทรัพย์มาจำนองเพิ่มเติมได้ และมีเหตุจำเป็นอันควรผ่อนผัน คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ใช้หลักประกันจำนองตามข้อ 13 (1) ค้ำประกันเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูการประกอบอาชีพได้   แต่เมื่อรวมกับต้นเงินกู้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวนต้นเงินกู้รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินวงเงินจำนอง

                                (2) มีสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลอื่นซึ่งคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นสมควรทำหนังสือรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมอย่างน้อย 5 คน   โดยจำนวนเงินกู้ต้องไม่เกิน 50,000 บาท และเมื่อรวมกับหนี้เงินกู้ที่ใช้หลักประกันตามข้อ 13 (2) แล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท

                                (3) มีสมาชิกสหกรณ์หรือบุคคลอื่น ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เป็นผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน โดยจำนวนเงินกู้ต้องไม่เกิน 50,000 บาท และเมื่อรวมกับหนี้เงินกู้ที่ใช้หลักประกันตามข้อ 13 (3) แล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท

                                หลักประกันนี้ให้ใช้ตลอดระยะเวลาตามแผนฟื้นฟูการประกอบอาชีพที่ลูกหนี้
ได้เสนอต่อคณะกรรมการ

                ข้อ   15. ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประกอบด้วย กรรมการและหรือผู้จัดการสหกรณ์จำนวนไม่เกิน 5 คน

                ข้อ 16. ให้คณะกรรมการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดย
ให้แต่งตั้งจาก

  • ผู้แทนสำนักงานสหกรณ์จังหวัด จำนวน 1 คน
  • ผู้แทนสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด จำนวน 1 คน
  • ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประจำสาขา จำนวน 1 คน

ข้อ 17. ในการประชุมคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องมีอนุกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอนุกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม และต้องมีหนังสือเชิญ ที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้แทน ธ.ก.ส. สาขาเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง

ข้อ 18. อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีดังนี้

  • พิจารณากลั่นกรองคัดเลือกลูกหนี้ที่สมควรได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • เจรจาประนีประนอมเพิ่มเติมเงื่อนไขหนี้ตามที่เห็นสมควร
  • วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้
  • พิจารณาแนวทางการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ให้มีคุณภาพเป็นไปตามนโยบายที่สหกรณ์กำหนด
  • เสนอความคิดเห็นประกอบการพิจารณาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ต่อคณะกรรมการ
  • ติดตาม กำกับ ควบคุม และแก้ไขปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ สหกรณ์ให้สอดคล้องกับการบริหารหนี้ค้างของสหกรณ์

ข้อ 19. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการในการพิจารณาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ มีดังนี้

                (1) พิจารณาอนุมัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ และระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ย เงินกู้ของสหกรณ์

                (2) พิจารณากำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ให้มีคุณภาพเป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่สหกรณ์กำหนด

                (3) ติดตาม   กำกับ ควบคุม   และแก้ไขปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ให้สอดคล้องกับการบริหารคุณภาพหนี้

                (4) ส่งเสริมและประสานงานกับภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนฟื้นฟูการประกอบอาชีพและการพัฒนาศักยภาพของลูกหนี้ที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ข้อ 20. กรณีอื่นๆ   ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เช่น การสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การรับรู้รายได้ และการเรียกคืนเงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

ลงชื่อ     บุญเทศ บรรฑิตย์

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

               

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก

พ.ศ. 2556

*************************************

                เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบสถาบันเกษตรกร   และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จาก สหกรณ์ได้รับการ               ฟื้นฟูอาชีพ

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 124 (10) ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556   เป็นต้นไป

ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. ในระเบียบนี้

  • “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก
  • “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการผู้บริหารเงินทุน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก
  • “เงินอุดหนุน” หมายถึง งบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป

ข้อ 5. เงินที่จะนำเข้าบัญชีเงินกองทุนนี้ คือ

  • เงินอุดหนุน
  • ดอกผลของเงินกองทุน
  • เงินบริจาค เงินช่วยเหลือ หรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากบุคคล องค์กรหรือสถาบัน

ข้อ 6.ให้นำเงินกองทุนฝากไว้ที่ธนาคารในบัญชีเงินฝากของสหกรณ์ โดยเปิดบัญชีไว้
โดยเฉพาะ

ข้อ 7. เงินกองทุนตามระเบียบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้แก่สมาชิก โดยให้สมาชิกยืมปลอดดอกเบี้ยเป็นทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิตและชำระคืนภายใน 3 ปี โดยชำระคืน ปีละ 1,000.- บาท

ข้อ 8. ให้คณะกรรมการดำเนินการรายงานการใช้เงินกองทุนในรอบปีทางบัญชีที่ผ่านมา ให้ที่ประชุมใหญ่รับทราบในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้

ข้อ 9. ให้สหกรณ์จัดทำบัญชีว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิกแยกไว้
โดยเฉพาะ และให้มีการปิดบัญชีปีละครั้ง โดยถือรอบทางบัญชีของสหกรณ์เป็นหลัก

ข้อ 10. ให้ประธานกรรมการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน  2556            

ลงชื่อ       บุญเทศ บรรฑิตย์

( นายบุญเทศ   บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วย การให้เงินกู้แก่สมาชิกตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ย

เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 124 ที่ประชุมคณะกรรมการ
ดำเนินการชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วย การ ให้เงินกู้แก่สมาชิกตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วย การให้เงินกู้แก่สมาชิกตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2556

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556   เป็นต้นไป

ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2556 ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. การให้เงินกู้ สหกรณ์ให้เงินกู้ได้เฉพาะแก่สมาชิกเท่านั้น

                ข้อ 5   .วัตถุประสงค์ของการกู้เงินสมาชิกอาจกู้เงินจากสหกรณ์ได้แต่โดยวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการจัดซื้อปุ๋ยตามความต้องการ โดยให้ครอบคลุมปุ๋ยทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรี
ปุ๋ยชีวะภาพ หรือปุ๋ยอื่นๆ ตามมาตรฐานประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปีการผลิตหนึ่งๆ เท่านั้น

                ข้อ 6. จำนวนเงินกู้ที่ให้แก่สมาชิกคนหนึ่งๆ นั้น สุดแต่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความต้องการตามแผนงานผลิตแต่ต้องไม่เกินร้อยละหกสิบ
แห่งราคาประเมินของผลิตผลเฉพาะส่วนเพื่อขายซึ่งผลิตด้วยเงินกู้นั้น

                การประเมินราคาผลิตผลดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้คำนวณตามที่คณะกรรมการดำเนินการได้คะเนราคาต่อหน่วยไว้ล่วงหน้า

                ข้อ 7. ระยะเวลาแห่งเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้   ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม
โครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้

  • ในกรณีสมาชิกผู้กู้ยื่นส่งชำระคืนเงินกู้ภายในระยะเวลา 9 เดือน นับตั้งแต่วันรับเงินกู้ถือว่าชำระเป็นเงินสด ผู้ให้กู้ยืมจะไม่คิดดอกเบี้ย
  • ในกรณีสมาชิกผู้กู้ส่งชำระคืนเงินภายในระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันรับเงินกู้ ผู้ให้กู้ยืมจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนที่เกิน 9 เดือน ในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี
  • ในกรณีสมาชิกผู้กู้ส่งชำระคืนเงินกู้เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันรับเงินกู้   ผู้ให้กู้ยืมจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนที่เกิน 9 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน ในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี และเงินกู้ส่วนที่เกิน 12 เดือน ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมจะต้องส่งชำระหนี้ตามสัญญาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดในสัญญาเงินกู้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยดังกล่าว

                ข้อ 8. หลักประกันเงินกู้ การกู้เงินตามระเบียบนี้ให้มีหลักประกันตามที่คณะกรรมการดำเนินการพิจารณากำหนด แต่อย่างน้อยต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                            (1) มีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่น จำนองเป็นหลักประกันโดยคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเป็นที่น่าพอใจว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาตลาดตามที่สหกรณ์ประเมินไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินกู้ส่วนที่ไม่มีหลักประกันตาม ( 2 ) หรือ ( 3 )

                การจำนองนั้นให้ระบุจำนวนเงินขั้นสูงเต็มราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ หรือในกรณีที่ราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์สูงกว่าจำนวนขั้นสูงของเงินกู้ จะระบุจำนวนไว้ตามจำนวนเงินขั้นสูงของเงินกู้ก็ได้   การจำนองดังกล่าวให้เป็นประกันการชำระหนี้สินทั้งหลายของสมาชิก ซึ่งมีอยู่หรือจะพึงมีในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อสหกรณ์   เมื่อสมาชิกชำระหนี้สินทุกรายของตนต่อสหกรณ์แล้ว และไม่ประสงค์กู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันต่อไปอีก ผู้จำนองจะถอนจำนองในส่วนที่ประกันหนี้ของสมาชิกนั้นได้   เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการถูกต้องตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว   สหกรณ์จึงอนุญาตให้ถอนจำนองได้

                            (2) สำหรับการกู้เงินซึ่งจะทำให้สมาชิกผู้กู้แต่ละคนเป็นหนี้เงินกู้เช่นนั้นต่อสหกรณ์โดยจำนวนต้นเงินไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด ถ้าสมาชิกผู้ขอกู้ไม่ประสงค์จะใช้หลักประกันตาม (1) หรือ (3) ให้สมาชิกในกลุ่มเดียวกันทุกคน ซึ่งกู้เงินดังกล่าวในฤดูการผลิตหนึ่ง ๆ ทำหนังสือรับรองต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ผูกพันตนร่วมกันว่า ในเมื่อผู้กู้คนใดในบรรดาผู้ทำหนังสือรับรองร่วมกันนั้นไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้เสร็จตามกำหนด บรรดาผู้ทำหนังสือรับรองร่วมกันมีความรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวต่อสหกรณ์จนเสร็จสิ้น สหกรณ์จะเรียกชำระหนี้จากผู้กู้คนใดในบรรดาผู้ทำหนังสือรับรองร่วมกันนั้นโดยสิ้นเชิง หรือบางส่วนตามแต่จะเลือกได้ บรรดาผู้ทำหนังสือรับรองร่วมกันยังคงผูกพันอยู่จนกว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวจะชำระเสร็จสิ้น

                                (3) สำหรับการกู้เงินซึ่งจะทำให้สมาชิกผู้กู้แต่ละคนเป็นหนี้เงินกู้เช่นนั้น
ต่อสหกรณ์โดยจำนวนต้นเงินไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด ถ้าสมาชิกผู้ขอกู้ไม่มีหลักประกันตาม (1) หรือ (2)   ผู้กู้ต้องจัดให้มีสมาชิกซึ่งคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวน พิจารณาเห็นสมควรแล้วเป็นผู้ค้ำประกันอย่างน้อยสองคนในจำนวนผู้ค้ำประกันสำหรับเงินกู้
แต่ละรายนั้น   อย่างน้อยคนหนึ่งต้องมีอสังหาริมทรัพย์ของตนเองตามสมควร

                สมาชิกผู้ค้ำประกันต้องทำหนังสือค้ำประกันหรือหลักฐานค้ำประกันไว้ให้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนด

                สมาชิกคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้สำหรับผู้กู้มากกว่าสองคนในเวลาเดียวกัน
ไม่ได้

                เมื่อผู้ค้ำประกันตายหรือลาออกจากสหกรณ์โดยเหตุอื่น หรือมีเหตุซึ่งคณะกรรมการดำเนินการไม่ไว้วางใจ   คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้ผู้กู้จัดสมาชิกขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการสอบสวนพิจารณาเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิมให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

                ตามที่สมาชิกผู้ค้ำประกันออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากการค้ำประกัน จนกว่าผู้กู้ได้จัดสมาชิกขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการสอบสวนพิจารณาเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน

                ข้อ 9. การควบคุมหลักประกัน

                         (1) ให้คณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการตรวจสอบเพื่อเงินกู้ทุกรายมีหลักประกันตามที่ระเบียบกำหนดไว้ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องผู้กู้ต้องจัดการแก้ไขข้อบกพร่องให้คืนดีภายในเวลาที่กำหนด

                   (2) สหกรณ์มีอำนาจเรียกให้สมาชิกผู้กู้มอบหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินและหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินอย่างอื่น บรรดามีไว้แก่สหกรณ์จนกว่าจะได้ชำระหนี้ทุกรายของตนเสร็จ

                ข้อ 10. วิธีให้เงินกู้แก่สมาชิกตามระเบียบนี้

                            (1) คณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการ มีอำนาจกำหนดคุณสมบัติสมาชิก
ผู้ขอกู้ตามระเบียบนี้

                            (2) สมาชิกผู้กู้ผู้มีคุณสมบัติตาม (1) ต้องทำหนังสือตามแบบที่กำหนดไว้เสนอต่อ สหกรณ์พร้อมกับแผนการใช้เงินทุนและคำขอกู้ อนึ่ง สมาชิกผู้ขอกู้ทั้งหมดในแต่ละกลุ่มต้องทำหนังสือรับรองต่อสหกรณ์ตามความในข้อ 8 (2) เสนอไปพร้อมกัน ถ้าการกู้เงินรายนั้นใช้การค้ำประกันตาม ข้อ 8 (3) ก็ให้ผู้ค้ำประกันทำหนังสือค้ำประกันตามแบบที่สหกรณ์กำหนดไปพร้อมกันด้วย

                            (3) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการอนุญาตให้ถือใช้หนังสือกู้ได้แล้ว สมาชิกผู้กู้จึงเบิกรับเงินกู้ได้ ทั้งนี้ โดยสหกรณ์จะจ่ายเงินกู้แก่สมาชิกตามจำนวนและในเวลาที่ต้องการใช้จ่าย ดำเนินงาน   โดยรวมต้นเงินไม่เกินวงเงินที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดไว้ในการเบิกรับเงินกู้ ผู้กู้ต้องทำหลักฐานการรับเงินกู้ให้ไว้ทุกครั้ง

                ข้อ 11. ให้ผู้จัดการตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน และวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ และการจัดการ เสนอผลการวิเคราะห์พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

            ข้อ 12. การตรวจสอบการใช้เงินกู้

                                สหกรณ์อาจมอบประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มหรือกรรมการดำเนินการ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์หรือพนักงาน ธ.ก.ส. ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกผู้กู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

                ข้อ 13. การเรียกคืนเงินกู้ในกรณีใดๆ ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเงินกู้เป็นอันถึงกำหนดชำระคืนโดยสิ้นเชิงพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ทันที   โดยมิพักคำนึงถึงระยะเวลาที่ให้ใช้สำหรับเงินกู้รายนั้นๆ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการดำเนินการหรือผู้จัดการเรียกคืนโดยมิชักช้า

  • เมื่อสมาชิกผู้กู้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ
  • เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการว่าสมาชิกผู้กู้นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของการกู้เงินหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อใช้วิธีทางเกษตรกรรมอันได้ผลดีขึ้น ทั้งนี้โดยไม่มีเหตุผลซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
  • เมื่อสมาชิกผู้กู้มิได้จัดการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหลักประกันตามคำสั่งของ
    คณะกรรมการดำเนินการ
  • เมื่อคณะกรรมการดำเนินการมีมติเห็นสมควรด้วยเหตุผลอื่น

                ข้อ 14. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติเงินกู้แล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งให้สมาชิกผู้ขอกู้ทราบโดยเร็ว เพื่อจัดทำสัญญากู้และจัดทำหลักประกันให้เรียบร้อย แล้วจึงจัดส่งเงินกู้ให้สมาชิก
ผู้ขอกู้ต่อไป

                ข้อ 15. การทำสัญญากู้ ให้จัดทำตามแบบที่สหกรณ์กำหนด   และให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์ตามข้อบังคับของสหกรณ์และสมาชิกผู้ขอกู้เป็นผู้ลงชื่อในสัญญากู้ที่ทำกับสหกรณ์

                ข้อ 16. การชำระหนี้เงินกู้   สมาชิกผู้กู้จะต้องชำระคืนเงินกู้ ให้สมาชิกผู้กู้มีหน้าที่ต้องจัดการชำระหนี้ ณ สำนักงานสหกรณ์   หรือสถานที่ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการจะกำหนดเป็นคราวๆ

                ข้อ 17. การให้เงินกู้แก่สมาชิกผู้ขอกู้ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติอื่นๆ   ให้คณะกรรมการดำเนินการกำหนดขึ้นได้ตามความเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

     ลงชื่อ    

( นายบุญเทศ บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ว่าด้วย กองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์

พ.ศ. 2556

*********************************

                อาศัยอำนาจตามข้อบังคับสหกรณ์หมวดที่ 11 ข้อเบ็ดเสร็จระเบียบสหกรณ์ ข้อ 124 (10)                   ที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ชุดที่ 36 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 10 เมษายน                พ.ศ. 2556 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ พ.ศ. 2556”

                ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

ข้อ 3. ให้ยกเลิกระเบียบสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ว่าด้วยการกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ พ.ศ. 2546 ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

                ข้อ 4. ในระเบียบนี้ เงินกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ หมายถึง เงินกองทุนกลุ่มสตรีของ สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                ข้อ 5. เงินกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ คือ เงินที่สหกรณ์จัดไว้เป็นทุนในการดำเนินธุรกิจกลุ่มสตรีสหกรณ์

                ข้อ 6. สหกรณ์จัดให้มีบัญชีเงินกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ในธนาคารบัญชีหนึ่งอีกต่างหาก

                ข้อ 7. เงินที่จะนำเข้าบัญชีนี้ คือ

  • เงินอุดหนุน เงินบริจาค เงินช่วยเหลือ หรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากบุคคล
    องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
  • เงินที่จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่
  • ดอกผลที่เกิดจาก “เงินกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์”

ข้อ 8. วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่สมาชิกกลุ่มสตรีสหกรณ์ ทั้งการจัดหาปัจจัยในการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูปและการตลาด

ข้อ 9. ในกรณีที่ได้รับเงินจาก ข้อ 6 หากเจ้าของทุนได้กำหนดเงื่อนไขหรือเจตนารมณ์ใด ก็ให้ถือเงื่อนไขหรือเจตนารมณ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้

ข้อ 10. คณะกรรมการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากเงินกองทุนฯ ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1% แต่ไม่เกินร้อยละ 8% ต่อปี

หากไม่สามารถใช้คืนเงินยืมได้ตามสัญญา ต้องเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ของเงินที่ค้าง นับจากวันที่ผิดสัญญา ยกเว้น กรณีได้รับการผ่อนผันการใช้คืนเงินยืมจากคณะกรรมการ สหกรณ์

ข้อ 11. กลุ่มสตรีสหกรณ์ที่จะขอกู้เงินกองทุนนี้ ต้องมีเอกสารประกอบดังนี้

  • หนังสือของกลุ่มสตรีสหกรณ์ขอเบิกเงินกู้
  • มติที่ประชุมของคณะกรรมการกลุ่มสตรีสหกรณ์ครั้งที่มีการพิจารณาขอกู้เงิน
  • แผนการใช้เงิน
  • หนังสือค้ำประกัน โดยคณะกรรมการกลุ่มสตรีสหกรณ์นั้นๆ ร่วมเป็นผู้ค้ำประกันทั้งคณะ

ในกรณีขอกู้รายบุคคลให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ของสหกรณ์แต่ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตามระเบียบนี้

ข้อ 12. การจะเบิกจ่ายเงินให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการสหกรณ์การเช่าที่ดิน
ชัยบาดาล จำกัด โดยจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

ข้อ 13. คณะกรรมการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินตามความเหมาะสม และจำเป็นแก่กลุ่มสตรีสหกรณ์

ข้อ 14. เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินแล้ว ให้ผู้จัดการหรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายจาก     ผู้จัดการเบิกจ่ายได้

ข้อ 15. การเก็บรักษาหลักฐานทางการเงินทางบัญชี การตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบ ว่าด้วย การรับ จ่าย และเก็บรักษาเงินสดของสหกรณ์

ข้อ 16. ให้สหกรณ์จัดทำบัญชีว่าด้วยเงินกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์แยกไว้โดยเฉพาะและให้มีการปิดบัญชีปีละครั้ง โดยให้ถือรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์เป็นหลัก

ข้อ 17. ห้ามมิให้คณะกรรมการสหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด จ่ายเงินทุนนี้นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ตามข้อ 7 หากมีการจ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์คณะกรรมการสหกรณ์ฯ ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดชอบใช้เงินคืนสหกรณ์ทั้งหมด

ประกาศ ณ วันที่   11 เมษายน 2556            

ลงชื่อ     บุญเทศ   บรรฑิตย์

( นายบุญเทศ บรรฑิตย์ )

ประธานกรรมการ

                สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

ระเบียบ

สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด
พ.ศ. 2556

สารบัญ

ลำดับ                                                   ชื่อระเบียบ                                                            หน้า

  1. ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงิน                                                                                     1
  2. ระเบียบว่าด้วยเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ                                                                       6
  3. ระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน                                                                 9
  4. ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิก                                                                         15
  5. ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนเงินสะสมเพื่อการพัฒนากิจการสหกรณ์                                26
  6. ระเบียบว่าด้วยจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย                                             28
  7. ระเบียบว่าด้วยการรวบรวมผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก                                     30
  8. ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนเพื่อสารธารณะประโยชน์                                                     33
  9. ระเบียบว่าด้วยที่ปรึกษาของสหกรณ์                                                                           37
  10. ระเบียบว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อขายรถจักยานยนต์ผ่อนส่งแก่พนักงาน 38
  11. ระเบียบว่าด้วยการใช้ทะเบียนประวัติและสถิติธุรกิจต่างๆ ของสมาชิกสหกรณ์ 42
  12. ระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการพนักงานสหกรณ์                                                                                                                45
  13. ระเบียบว่าด้วยวินัย การสอบสวนและการลงโทษสำหรับพนักงานและลูกจ้างสหกรณ์ 48
  14. ระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้าง                                                                                                                                54
  15. ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานสหกรณ์ 70
  16. ระเบียบว่าด้วยการลาสำหรับพนักงานและลูกจ้าง 82
  17. ระเบียบว่าด้วยการควบคุมและการใช้รถยนต์                                                                                                                     87
  18. ระเบียบว่าด้วยคณะอนุกรรมการ 92
  19. ระเบียบว่าด้วยกองทุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ 94
  20. ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกบัตรประจำตัวสมาชิกสหกรณ์ 96
  21. ระเบียบว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ 99
  22. ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ย

      เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร                                                                                              105

  1. ระเบียบว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอาชีพให้สมาชิก 109