king10

bannernews

 

                                                

 

                                                                                                  ข้อบังคับ

                                                                                       สหกรณ์นิคมชัยบาดาล จำกัด

                                                                                                    พ.ศ. 2545

  หมวดที่ 1  ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน

            ข้อ 1. ชื่อ ประเภทและที่ตั้งสำนักงาน

            ชื่อ                     สหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด

            ประเภท              สหกรณ์นิคม

            ที่ตั้งสำนักงาน     เลขที่ 139     บ้านบ่อคู่   หมู่ที่   2

                                     ตำบล ท่าหลวง   อำเภอ ท่าหลวง  จังหวัด ลพบุรี

                                            

           ท้องที่ดำเนินงาน   อำเภอท่าหลวง     อำเภอชัยบาดาล   จังหวัดลพบุรี

                  

สหกรณ์อาจย้ายที่ตั้งสำนักงานได้ตามที่คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเห็นสมควร       โดยแจ้งให้นายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบ และให้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานของสหกรณ์เดิม สำนักงานส่วนราชการสหกรณ์ และที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่สหกรณ์ตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับในการประชุมใหญ่คราวต่อไปด้วย

          ตราของสหกรณ์ ตราของสหกรณ์มีรูปลักษณะ ดังนี้

                                               วงกลมในเป็นรูปรถแทรกเตอร์ ดวงอาทิตย์ และไร่ข้าวโพด

                                                   สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่

                                                   วงกลมนอกเป็นชื่อของสหกรณ์

หมวดที่ 2  วัตถุประสงค์

             ข้อ 2.  วัตถุประสงค์ สหกรณ์มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกิน     และส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยวิธีช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักสหกรณ์ รวมทั้งข้อต่อไปนี้

                (1) ครอบครองและจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกใช้เป็นที่อยู่อาศัย     ประกอบอาชีพเป็นของตนเอง

และสร้างสรรหมู่บ้าน การคมนาคม สิ่งสาธารณะต่างๆ ตลอดจนปรับปรุงบำรุงที่ดินเพื่อความสะดวกและเหมาะสม

                (2) จัดให้สมาชิกครอบครองทำกินในที่ดินที่จัดสรร และส่งเสริมอาชีพทางเกษตรกรรมให้เป็นผลดีในด้านวิธีการ ปริมาณ และคุณภาพ

                (3) ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพการเกษตร หัตถะศึกษา   อุตสาหกรรมในครัวเรือน   หรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นในหมู่สมาชิกและครอบครัวสมาชิก รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เพื่อให้สมาชิกมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

                (4) ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ปิดกั้นทำนบ เหมืองฝาย ตลอดจนจัดระบบการส่งน้ำ   ระบายน้ำ เพื่อประโยชน์แก่การเกษตรและอยู่อาศั

                (5) ให้เงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อประกอบอาชีพ หรือใช้จ่ายในทางที่จำเป็น

                (6) จัดให้มีเครื่องทุ่นแรง    หรืออุปกรณ์การผลิตและการแปรรูปตลอดจนสถานที่เก็บผลิตผล     ผลิตภัณฑ์ และพาหนะขนส่งไว้เพื่อบริการตามความจำเป็น

                (7) จัดหาวัสดุการเกษตร รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิก

                (8) รวบรวมผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ของสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือบุคคลอื่นมาจำหน่าย หรือแปรรูปออกจำหน่าย

                (9) จัดให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด โดยซื้อหรือรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกก่อนผู้อื่น

               (10) จัดหาทุนเพื่อกิจการตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

               (11) รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น

       (12) ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน

       (13) ซื้อหุ้นของธนาคารซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์

       (14) ซื้อหุ้นของชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น

       (15) ซื้อหุ้นของสถาบันที่ประกอบธุรกิจอันทำให้เกิดความสะดวกหรือส่งเสริมความเจริญแก่

กิจการของสหกรณ์

         (16) ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและตราสารการเงิน

                 (17) ฝากหรือลงทุนอย่างอื่นตามกฎหมายและตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด

(18) ให้สวัสดิการและการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว

                 (19) ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ

(20) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทั้งทางการศึกษา พลานามัย และทางจิตใจ ให้เป็นครอบครัว

ที่สุขสมบูรณ์เพื่อรวมเป็นสังคมที่มีสันติสุข

                 (21) ร่วมมือกับทางราชการ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์และสหกรณ์อื่น เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์

                 (22) กระทำการต่างๆตามที่อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น รวมถึงซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิครอบครอง กู้ ยืม เช่าหรือให้เช่า เช่าซื้อหรือให้เช่าซื้อ โอนหรือรับโอน สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ ขายหรือจำหน่าย จำนองหรือรับจำนอง จำนำหรือรับจำนำ ด้วยวิธีอื่นใด ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก    

(23) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก

                 (24) ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการหน่วยงานของต่างประเทศหรือบุคคลอื่นใด

                 (25) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ สหกรณ์

(26) ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจประกันภัยของสหกรณ์

หมวดที่ 3 ทุน และหุ้น

       ทุน

            ข้อ 3. ที่มาของทุน สหกรณ์อาจหาทุนเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

          (1) ออกหุ้น

                  (2) รับฝากเงินจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น

          (3) กู้ยืมเงินและรับเงินจากการออกตั๋วสัญญาใช้เงินและตราสารการเงินอย่างอื่น

          (4) สะสมทุนสำรองและทุนอื่น ๆ

          (5) รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้

        หุ้น

            ข้อ 4.   การออกหุ้น สหกรณ์ออกหุ้นได้โดยไม่จำกัดจำนวนหุ้น มีมูลค่าหุ้นละ 10  บาท

            ข้อ 5.   การถือหุ้นสมาชิกต้องถือหุ้นในสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

                   (1) ถือหุ้นเมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิกคนละ   20 หุ้น

                   (2) ถือหุ้นตามส่วนแห่งที่ดินที่ตนครอบครองในอัตราไร่ละ 5 หุ้น  เศษของไร่ถ้าเป็นสองงานให้ถือเป็นหนึ่งไร่

                   (3) ถือหุ้นตามส่วนแห่งเงินกู้ในอัตราห้าหุ้นต่อจำนวนเงินกู้ทุก ๆ หนึ่งพันบาท เศษของหนึ่งพันบาทให้ถือเป็นห้าหุ้น

                   (4) นอกจากการถือหุ้นตาม (1), (2) และ (3)    แล้วสมาชิกอาจขอถือหุ้นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใดก็ย่อมทำได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อสหกรณ์ แต่จำนวนหุ้นทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด

สมาชิกจะโอนหรือถอนหุ้นในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้

ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกไม่สิ้นสุด     สหกรณ์ไม่ต้องส่งเงินค่าหุ้นของสมาชิกเพื่อชำระหนี้แก่

เจ้าหนี้ของสมาชิกนั้น

             ข้อ 6.  การชำระค่าหุ้น สมาชิกจะต้องชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด โดยถือปฏิบัติดังนี้

                    (1) การชำระค่าหุ้นในฐานะสมาชิกตามข้อ 5 (1) , (3) และ (4) นั้น    จะต้องชำระเต็มมูลค่าในคราวเดียวตามเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

   (2) การชำระค่าหุ้นตามส่วนแห่งที่ดิน ตามข้อ 5 (2) ให้ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยปีละ   5   หุ้น

จนกว่าจะครบตามจำนวนหุ้นที่จะถือ

ถ้าสมาชิกผู้ใดไม่ส่งเงินค่าหุ้นภายในวันซึ่งคณะกรรมการดำเนินการกำหนด ผู้นั้นจะต้องถูกปรับตามมูลค่าหุ้นที่กำหนดให้ชำระนั้น ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันที่กำหนดให้ส่งถึงวันที่ส่งชำระ ทั้งนี้เว้นแต่จะมีความจำเป็นซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรผ่อนผัน โดยขยายระยะเวลากำหนดชำระออกเป็นราย ๆ ไป

             ข้อ 7.  การแจ้งยอดจำนวนหุ้น สหกรณ์จะแจ้งยอดจำนวนหุ้นที่สมาชิกชำระเต็มมูลค่าแล้วให้สมาชิก   แต่ละคนทราบทุกสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์

 

หมวดที่ 4 การดำเนินงาน

            ข้อ 8.  การดำเนินงาน การดำเนินงานของสหกรณ์ต้องทำธุรกิจบริการสมาชิก โดยการให้เงินกู้รวมกันผลิต รวมกันซื้อ  รวมกันขาย รวมกันแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ช่วยเหลือตนเองตามกำลังความสามารถ

การจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกินเป็นกรรมสิทธิ์

            ข้อ 9. การจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกิน สหกรณ์จะจัดแสวงหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรหรือการทำกินของสมาชิก โดยวิธีซื้อ เช่าซื้อ เช่า เข้าถือครอง หรือรับมอบที่ดินจากรัฐบาล  หรือโดยผ่านทางรัฐบาล ชุมนุมสหกรณ์ ธนาคาร หรือบุคคลอื่นใด ที่เห็นสมควรเพื่อนำมาจัดสรรแบ่งปันให้สมาชิกทำกิน และเพื่อประโยชน์ในกิจการของสหกรณ์

         ที่ดินดังกล่าวอาจจะเป็นที่ดินแปลงเดียวติดต่อกันหรือหลายแปลงในบริเวณเดียวกัน สุดแต่จะเห็นสมควร เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกโดยพิจารณาว่าสมาชิกจะสามารถผ่อนส่งค่าที่ดิน ค่าเช่าซื้อ  หรือค่าเช่าตามระยะเวลาที่ สหกรณ์กำหนด

ระยะเวลาในการผ่อนส่งค่าที่ดิน   ค่าเช่าซื้อ   หรือระยะเวลาในการเช่าย่อมสุดแต่ข้อตกลงที่สหกรณ์ได้กำหนดตามความสามารถของสมาชิก หรือตามกำหนดเวลาหรือเงื่อนไขที่สหกรณ์ได้ทำสัญญาไว้กับเจ้าของที่ดิน

         การแสวงหาหรือจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินนี้    ถ้ามิใช่เป็นการได้มาโดยรัฐบาลมอบให้ หรือผ่านทางรัฐบาลแล้ว จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่

         ข้อ 10. การจัดสรรที่ดิน  สหกรณ์จะจัดสรรที่ดินให้สมาชิกรายใดครอบครองทำกินหรืออยู่อาศัยให้เป็นไปตามที่ประชุมใหญ่กำหนด

จำนวนที่ดินที่จะจัดสรรนั้นให้ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องที่ สภาพของที่ดิน กำลังทำกินของสมาชิก ประกอบ กับแผนการเพาะปลูก และผลการคำนวณรายได้ที่ควรจะได้รับจากการใช้ที่ดินนั้น

สำหรับที่ดินที่ได้มาโดยการไถ่ถอนหนี้สินให้แก่สมาชิก   สมาชิกจะต้องผ่อนชำระเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน

ของตนคืน และจะได้รับแบ่งเท่าจำนวนที่ดินของตนตามข้อผูกพันเท่านั้น ในกรณีที่สหกรณ์มีที่ดินซึ่งไม่เหมาะสมกับการจัดสรรให้ประกอบอาชีพการเกษตรได้อาจจัดสรรให้เป็นที่อยู่อาศัยเพื่อทำความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์กำหนดโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่

         ข้อ 11.  การกำหนดแผนผังที่ดิน สหกรณ์จะร่วมมือกับทางราชการในการกำหนดแผนผังที่ดินสำหรับเป็นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และที่สาธารณะประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานของสมาชิก รวมทั้งให้มีสถานที่ตั้งตลาด โรงเรียน สถานีอนามัย วัดและอื่นๆ ตามความจำเป็น

การวางผังนี้จะได้กำหนดให้มีถนนสำหรับการขนส่ง และการคมนาคมติดต่อทั้งภายใน     และชุมชนอื่นๆ อย่างสะดวกและทั่วถึง   และให้เหมาะสมกับการที่จะสร้างสรรหมู่บ้าน การสุขาภิบาล และการปกครองท้องถิ่นในอนาคต หน้าที่ของสมาชิกพึงต้องปฏิบัติและร่วมกันดูแลรักษาเพื่อให้เป็นไปตามแผนผังดังกล่าวนี้

         ข้อ 12. การกำหนดอัตราค่าเช่า ค่าเช่าซื้อหรือขาย ผ่อนชำระหนี้หรือค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดิน ที่ดินที่ได้มาไม่ว่าในลักษณะใดๆ และมอบให้สมาชิกครอบครองโดยการเช่า เช่าซื้อ    หรือขายผ่อนชำระซึ่งสมาชิกต้องชำระเป็นงวดตามจำนวนที่ดินที่สหกรณ์จัดสรรให้ครอบครองในอัตราต่อไร่ ทั้งนี้     โดยคำนึงถึงสัญญาภาระหน้าที่ของ สหกรณ์ที่ต้องชำระ หรือลงทุนใช้จ่ายเป็นเกณฑ์

            ในกรณีที่สหกรณ์ได้ที่ดินมาด้วยการซื้อ เช่าซื้อ หรือด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด อันสามารถจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่สมาชิกได้ในที่สุด สหกรณ์ก็จะกำหนดค่าของที่ดินที่จัดสรรให้สมาชิกครอบครองตามความในวรรคแรกนั้นไว้เป็นสัดส่วน เพื่อให้สมาชิกผ่อนส่งโดยคิดเพิ่มค่าดำเนินการของสหกรณ์เข้าด้วย ค่าดำเนินการของสหกรณ์ดังกล่าวนี้ ให้คิดคำนวณโอนเป็นรายได้ประจำปีของสหกรณ์ทุกปีจากเงินที่สมาชิกส่ง สมาชิกที่มีกำลังทำกินดี สามารถส่งชำระค่าที่ดินได้มากกว่าที่สัญญาไว้เป็นรายงวดก็ย่อมจะได้รับกรรมสิทธิ์ก่อนกำหนด แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บังคับไว้ใน ข้อ 15 เว้นแต่ที่ดินที่สหกรณ์ได้มายังไม่อาจแบ่งแยกหรือโอนกรรมสิทธิ์เป็นรายบุคคลได้

            สำหรับสมาชิกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรม สมาชิก จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้ที่ดินตามที่ทางราชการกำหนด

            ข้อ 13.  ค่าบำรุงสหกรณ์  สมาชิกทุกคนต้องชำระค่าบำรุงสหกรณ์เพื่อเป็นทุนสะสมไว้ใช้จ่ายในกรณีจำเป็นในการดำเนินงานของสหกรณ์เป็นประจำปีทุกปีโดยให้ชำระเป็นประจำทุกปีภายในสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ในอัตราไร่ละ 1 บาท หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

            ข้อ 14.  การทำสัญญาให้สมาชิกครอบครองที่ดิน   การให้สมาชิกครอบครองที่ดินที่จัดสรรให้ทำกิน จะต้องทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน โดยอาจทำเป็นสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ สัญญาขายผ่อนชำระหรือสัญญาเช่าอย่างใดอย่างหนึ่งสุดแต่จะเห็นสมควรโดยกำหนดราคาที่ดินที่ให้ครอบครองไว้แน่นอน และวางข้อกำหนดที่สมาชิกพึงต้องปฏิบัติตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

ในกรณีที่เห็นสมควรให้ทำเป็นสัญญาเช่าซื้อ   ให้กำหนดจำนวนเงินแต่ละคราวที่สมาชิกจะต้องชำระและจำนวนงวดที่จะต้องส่งเพื่อเป็นเงื่อนไขในการที่จะโอนขายที่ดินนั้น และถ้าสมาชิกผู้ครอบครองผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันตั้งแต่สองคราวขึ้นไป      สหกรณ์จะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้แล้วให้ริบเงินที่ได้ส่งไว้แล้วเป็นของ สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อต่อไป

ถ้าสมาชิกผู้ทำสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาขายผ่อนชำระมีกำลังทำกินดี   และสามารถชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระรายงวดเกินกว่ากำหนดไว้ในสัญญาเพื่อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยเร็วก็ย่อมกระทำได้

อนึ่ง หากสหกรณ์ได้ที่ดินมาดำเนินการ  แต่ยังไม่อาจให้สมาชิกทำสัญญาเช่าซื้อหรือผ่อนชำระได้ ก็ให้ทำสัญญาเช่าไปพลางก่อน และในกรณีที่สหกรณ์ได้นำเงินค่าเช่าไปผ่อนชำระค่าที่ดินจำนวนเท่าใดแล้ว ให้คำนวณราคาที่ดินที่สมาชิกจะทำสัญญาเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระลดลงตามส่วนที่ได้ชำระนั้นด้วย

            ข้อ 15.   หน้าที่ของสมาชิกผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน   สมาชิกผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินจัดสรรต้องใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอย่างเต็มกำลัง  และต้องทำการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมตามที่ทางราชการหรือสหกรณ์กำหนด และมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในการครอบครองดังต่อไปนี้

                  (1) อพยพเข้าตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับจัดสรรให้ครอบครอง หรือในที่ที่สหกรณ์กำหนด ทั้งนี้เว้นแต่จะมีความจำเป็นและได้รับการผ่อนผันเป็นลายลักษณ์อักษร

                  (2) ทำการบุกเบิกก่นสร้างและปรับปรุงบำรุงที่ดิน  ซึ่งตนครอบครองให้เป็นที่ใช้ทำประโยชน์ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดหรือตามมติของกลุ่มและที่ประชุมใหญ่

                  (3) สละแรงงานของตนเองและครอบครัว   เพื่อกระทำการอันเป็นประโยชน์ส่วนรวมของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน หรือกิจการอันเป็นประโยชน์ส่วนรวมของสหกรณ์ตามที่กลุ่มหรือคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเห็นสมควร

                  (4) ชำระค่าภาษีที่ดินหรือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากที่ดิน   ตลอดจนรายจ่ายอื่น ๆ อันเนื่องมาจากการครอบครองที่ดิน หรือเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ๆ และในกรณีที่สหกรณ์จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ให้ก่อน ก็ให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกผู้ครอบครองที่ดินจะต้องนำเงินนั้นมาชำระต่อสหกรณ์ตามส่วนที่ดินที่ตนครอบครอง

                  (5) ชำระค่าบำรุงสหกรณ์ ค่าช่วยทุนรัฐบาลและค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่าง ๆ ที่สหกรณ์หรือรัฐบาลได้กำหนดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่กิจการของสหกรณ์หรือของนิคมสหกรณ์

                  (6) ดูแลรักษาเขตที่ดินมิให้ถูกรุกล้ำ  หรือมีผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือขุดบ่อสร้างคันทำลายสภาพหรือสิ่งก่อสร้างในที่ดินที่ได้รับมอบให้ครอบครอง

                  (7) กำหนดและตบแต่งบริเวณที่อยู่อาศัย   หรือทำเลการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้แน่นอน โดยกำหนดสถานที่สำหรับเก็บพืชผล สัตว์พาหนะและอื่นๆ ให้เหมาะสมกับอาชีพ

                  (8) สร้างถนนเพื่อการขนส่งหรือทางเดินภายในที่ดิน  เพื่อเชื่อมถนนใหญ่หรือติดต่อกับบ้านเรือนของสมาชิกคนอื่นๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกัน

           ข้อ 16. การโอนกรรมสิทธิ์และเงื่อนไข ในกรณีที่สหกรณ์ได้ที่ดินมาอันสามารถจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่สมาชิกได้ เมื่อสมาชิกได้ส่งชำระค่าเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระราคาที่ดิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่พึงจะต้องชำระคิดเป็นเงินทั้งสิ้นครบถ้วนตามค่าของที่ดินแต่ละแปลงตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 12 กับครอบครองที่ดินนั้นมาไม่น้อยกว่า ห้าปีแล้วนับแต่วันได้ครอบครอง สหกรณ์จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้น ๆ ให้แก่สมาชิกตามสัญญาและเงื่อนไข ที่สหกรณ์กำหนด

           อนึ่ง  ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ  เกี่ยวกับการแบ่งแยกโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก

สหกรณ์นั้น หากต้องชำระสมาชิกจะต้องเป็นผู้ชำระเองทั้งสิ้น

            ข้อ 17. การโอนสิทธิและผลประโยชน์       สิทธิและผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดของสมาชิกอันมีอยู่เกี่ยวกับที่ดินที่ตนครอบครองจะโอนไปยังผู้ใดมิได้ เว้นแต่จะโอนให้ทายาทหรือโอนโดยทางมรดก

              สมาชิกอาจทำหนังสือตั้งทายาทคนหนึ่งหรือหลายคนตามลำดับเพื่อให้สหกรณ์คัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับโอนสิทธิและผลประโยชน์ของตนเมื่อตนต้องออกจากสหกรณ์   แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสหกรณ์ด้วย

            สมาชิกคนใดไม่มีทายาท หรือมีทายาทแต่ขาดคุณสมบัติของสมาชิก   ไม่อาจรับเข้าเป็นสมาชิกได้ เมื่อต้องออกหรือขาดจากสมาชิกภาพตามข้อ (54) การครอบครองที่ดินสิทธิและผลประโยชน์ในที่ดินของสมาชิกผู้นั้น

เป็นอันระงับไป และให้ที่ดินนั้นอยู่ในความครอบครองของสหกรณ์ทันที   การรับสมาชิกใหม่เข้าครอบครองที่ดินแทนสหกรณ์จะกำหนดค่าที่ดิน ค่าลงทุนและอื่น ๆ ให้เป็นปัจจุบันก่อน   แล้วให้กันส่วนหนึ่งของราคาที่ดินหรือค่าลงทุนดังกล่าวนี้คืนให้แก่บุคคลนั้นหรือทายาทแล้วแต่กรณีก็ได้     หากมีหนี้สินใดกับสหกรณ์ให้โอนไปชำระหนี้แก่ สหกรณ์ก่อน ส่วนที่เหลือจึงให้ทำสัญญาเช่าซื้อหรือผ่อนชำระหรือเช่าเป็นรายปี แล้วแต่กรณี     แต่ราคาที่ดินซึ่งกำหนดขึ้นใหม่นั้นจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้เดิม

            การโอนการครอบครองที่ดินตลอดจนสิทธิและผลประโยชน์ในที่ดินให้แก่ทายาทหรือในกรณีที่สหกรณ์รับสมาชิกเข้าใหม่ตามวรรคแรก หากเป็นที่ดินของรัฐจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ก่อนทุกราย

            ข้อ 18. การผิดสัญญาครอบครอง ที่ดินที่สมาชิกแต่ละคนได้รับจัดสรรและทำสัญญาให้ครอบครองนั้น จะนำไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงหรือประกอบการอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากสหกรณ์   หากเป็นที่ดินของรัฐต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นราย ๆ หากสมาชิกผิดสัญญาที่ได้กระทำไว้กับสหกรณ์หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการครอบครองที่ดิน และทอดทิ้งไม่ตั้งใจทำการเกษตรกรรมโดยไม่มีเหตุผลสมควร คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาให้เลิกสัญญา แล้วเรียกที่ดินและให้สมาชิกผู้นั้นออกจากสหกรณ์ก็ได้

            ข้อ19. ค่าช่วยทุนรัฐบาล สมาชิกผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินจะต้องชำระเงินเพื่อช่วย

ทุนที่รัฐบาลได้ลงไปให้แก่สหกรณ์ต่อไร่ ตามจำนวนที่ดินที่ตนได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในอัตราตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อชำระแก่ทางราชการ

            เงินค่าช่วยทุนนี้ สมาชิกจะต้องส่งเงินเป็นงวดรายปีภายในวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ของทุกปี และงวดหนึ่ง ๆ ต้องเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบแห่งจำนวนเงินทั้งหมดที่ตนพึงชำระ ทั้งนี้ จะเริ่มชำระงวดแรกในปีใดให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด โดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ แต่ต้องไม่ช้ากว่าปีที่ห้านับนับแต่ปีที่ได้เข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์

            ถ้าปีใดสมาชิกไม่สามารถชำระเงินนี้ได้ภายในกำหนด โดยมีเหตุผลอันสมควรสหกรณ์อาจขออนุมัติต่ออธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ผ่อนผันไปชำระในปีถัดไปก็ได้

 

การใช้ที่ดิน

        ข้อ 20. การใช้ที่ดิน   การลงทุนและการเพาะปลูก    สมาชิกผู้ทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนครอบครองต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ที่ดิน และดำเนินการเพาะปลูกตามวิธีการ ซึ่งสหกรณ์หรือกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือคณะกรรมการดำเนินการกำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งการใช้จ่ายลงทุนต่างๆ เพื่อดำเนินการเพาะปลูกดังกล่าวด้วย

ถ้าที่ประชุมใหญ่  ที่ประชุมกลุ่ม และคณะกรรมการดำเนินการพิจารณากำหนดให้สมาชิกเพาะปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทางราชการกำหนดให้หรือที่ตลาดต้องการ     เพื่อสะดวกในการจำหน่ายหรือถ้าสหกรณ์ได้ทำสัญญาจำหน่ายพืชผลอย่างใดอย่างหนึ่งไว้กับผู้ซื้อเป็นการล่วงหน้าย่อมเป็นหน้าที่ของสมาชิกที่จะพึงร่วมมือกัน ปฏิบัติตามหรือดำเนินการเพาะปลูกพืชนั้นๆ ให้เพียงพอกับการจำหน่ายตามสัญญา เพื่อสร้างความนิยมเชื่อถือให้กับสหกรณ์ของตนเองและเป็นผลดีแก่การจำหน่ายผลิตผลของสมาชิกในอนาคต

การปรับปรุงที่ดินและการประกอบอาชีพ

            ข้อ 21. การบุกเบิกก่นสร้าง    การบุกเบิกก่นสร้างหรือปรับปรุงบำรุงที่ดินของสมาชิกนั้นย่อมเป็นหน้าที่ ของสมาชิกแต่ละคน แต่ถ้าสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นว่าหากให้สมาชิกต่างคนต่างทำเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย ไม่เป็นผลดีแก่การเศรษฐกิจหรือการทำกินของสมาชิก  สหกรณ์อาจเข้าช่วยเหลือดำเนินการบุกเบิกก่นสร้างหรือทำการปรับปรุงบำรุงให้เองก็ได้ โดยการใช้ทุนของสหกรณ์เอง หรือของบุคคลภายนอกแล้วแต่จะเห็นสมควร ทั้งนี้ด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์

            การตกลงดำเนินการดังกล่าวนี้ สหกรณ์จะกำหนดวิธีการที่สมาชิกพึงปฏิบัติในการผ่อนส่งชดใช้ค่าก่อสร้าง บุกเบิก หรือค่าปรับปรุงบำรุงที่ดินดังกล่าว ในลักษณะของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย  หรือค่าบริการตามความเหมาะสมของการลงทุนนั้น ๆ และถ้าสหกรณ์ได้ทำสัญญาชดใช้การลงทุนกับบุคคลภายนอกไว้ประการใด สมาชิกพึงต้องร่วมกันปฏิบัติการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้เป็นไปตามสัญญานั้น หรือตามที่สหกรณ์กำหนดโดยเคร่งครัด

          การใช้ทุนของบุคคลภายนอกเพื่อดำเนินการบุกเบิกก่นสร้าง     หรือทำการปรับปรุงบำรุงที่ดินดังกล่าวนี้ หากเป็นที่ดินของรัฐ สหกรณ์จะต้องเสนอแผนงานและได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ก่อน

            ข้อ 22. การปรับปรุงบำรุงที่ดิน สหกรณ์อาจลงทุนหรือขอให้รัฐบาลช่วยเหลือลงทุนปรับปรุงที่ดินให้เป็นส่วนรวมเกี่ยวกับการจัดระบบชลประทานซึ่งมีการขุดคลอง สร้างคันกั้นน้ำ ขุดบ่อ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ วางท่อส่งน้ำระบายน้ำ และอื่นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำกิน หรือการอยู่อาศัยตามที่เห็นสมควร   ทั้งนี้โดยคำนึงถึงระยะเวลาของการใช้หรือครอบครองที่ดินที่ได้มาเป็นสำคัญ สมาชิกต้องให้ความร่วมมือและร่วมแรงกันตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด   ทั้งต้องช่วยกันดูแลรักษาและซ่อมแซมด้วยเพื่อให้การปรับปรุงบำรุงที่ดินบังเกิดผลดีและเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรที่มีที่ดินในท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์

            การปรับปรุงบำรุงที่ดินนี้ ถ้าสหกรณ์เป็นผู้ลงทุนหรือขอให้รัฐบาลลงทุนให้ สหกรณ์อาจกำหนดให้สมาชิกชำระค่าปรับปรุงบำรุงที่ดินเป็นรายปีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หรืออาจรวมเข้าเป็นค่าที่ดินที่กำหนดไว้นั้นแล้วก็ได้

การอพยพเข้าอยู่อาศัย

            ข้อ 23. การอพยพเข้าอยู่อาศัย ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าครอบครองที่ดินพึงต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ จึงจะมีสิทธิเข้าครอบครอง และเข้าอยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับจัดสรรและเมื่อได้รับมอบที่ดินแล้วต้องเข้าตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ภายในกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

            ในกรณีที่สมาชิกได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อน และมีเขตที่ดินเดิมไม่ตรงกับที่ได้รับจัดสรร สมาชิกพึงต้องแก้ไขขยับขยายเขตที่ดินและบ้านเรือนใหม่ให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครอง  ทั้งนี้  ด้วยการประนีประนอม และถ้าตกลงกันไม่ได้ประการใดให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้ตัดสิน

การส่งเสริมอาชีพทางเกษตรกรรม

            ข้อ 24. การส่งเสริมอาชีพทางเกษตรกรรม       สหกรณ์จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อเผยแพร่วิชาการเกษตรในหมู่สมาชิกโดยวิธีอบรมแนะนำดำเนินการทดลองค้นคว้าและปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง

คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญเจ้าหน้าที่     หรือผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางการเกษตรอย่างหนึ่งอย่างใด มาแนะนำซักซ้อมสมาชิกให้เข้าใจในหลักวิธีการ การดำเนินการและการประกอบการเกษตรกรรมอันถูกต้องทันสมัย เพื่อให้มีปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการ ในการนี้คณะกรรมการดำเนินการอาจกำหนด หรือชี้ชวนให้สมาชิกปฏิบัติการเกษตรกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำแนะนำนั้นๆ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพร่วมกันก็ได้ สมาชิกพึงต้องปฏิบัติตามด้วยความพร้อมเพรียงกัน

         

การจัดให้มีเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์การผลิตและการแปรรูป

            ข้อ 25. การจัดให้มีเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์การผลิตและการแปรรูป สหกรณ์อาจจัดให้มีเครื่องมือทุ่นแรง และอุปกรณ์การผลิตและการแปรรูปเพื่อใช้ในกิจการของสหกรณ์ และหรือเพื่อให้สมาชิกใช้รวมทั้งกำหนดอัตราค่าเช่า ค่าบริการและอื่นๆ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

         

   การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย และการแปรรูปผลิตผลของสมาชิก

            ข้อ 26. การจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย สหกรณ์อาจจัดหาสิ่งของที่ใช้ในการเกษตรเครื่อง อุปโภคบริโภค และสิ่งของอย่างอื่น ซึ่งบรรดาสมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

            ข้อ 27. การรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก    สหกรณ์อาจจัดให้มีอุปกรณ์หรือพาหนะเพื่อเก็บรักษา รับฝาก หรือขนส่งผลิตภัณฑ์ของสมาชิก โดยปลอดภัยและประหยัดและจัดการขายหรือแปรรูปออกขาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

การสงเคราะห์สมาชิกและครอบครัว

            ข้อ 28. การสงเคราะห์สมาชิกและครอบครัว เพื่อการสงเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัวให้มีความมั่นคงในฐานะและอาชีพ ตลอดจนมีสวัสดิภาพต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ในบ้านเรือนและในสังคมนั้น สหกรณ์อาจดำเนินการสงเคราะห์ให้แก่สมาชิกในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

           (1) จัดหมู่บ้าน สร้างถนน สร้างบ่อน้ำ ซ่อมแซมอาคารต่างๆ และอื่นๆ

                   (2) ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ส่งเสริมการกีฬา จัดบริเวณบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ดำเนินการจำหน่ายยาตำราหลวง และอื่นๆ

           (3) ส่งเสริมการศึกษา จัดห้องสมุดในหมู่บ้าน ฉายภาพยนตร์ นำเที่ยวและอื่นๆ

                   (4) ส่งเสริมอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น การเลี้ยงสัตว์  การทำสวนผัก การปลูกไม้ประดับ และ     อุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่จะนำผลประโยชน์และรายได้มาให้สมาชิก

           (5) ดำเนินการประกันราคาผลิตผล และอื่นๆ

การดำเนินการตามข้อนี้  หากเป็นการสงเคราะห์โดยการให้เปล่า   สหกรณ์อาจใช้ทุนจากการสะสมของ สหกรณ์เอง หรืออาจได้จากการบริจาค เงินอุดหนุน ค่าบำรุง และความร่วมมือบริจาคแรงงานจากสมาชิกหรือชาวหมู่บ้านนั้นๆ เอง ทั้งนี้ อาจกำหนดระเบียบขึ้นตามที่เห็นสมควร

ในกรณีที่เป็นการดำเนินงานแบบธุรกิจ สหกรณ์จะกำหนดระเบียบและวิธีการในการดำเนินงาน และเรียกค่าบริการจากสมาชิกโดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่

ข้อ 29. การดำเนินการกิจอื่นๆ ในการดำเนินการตามข้อบังคับนี้ และเพื่อจัดการเกี่ยวกับการบริการให้แก่สมาชิกตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ สหกรณ์อาจดำเนินการกู้เงิน หรือค้ำประกันเงินกู้หรือสินเชื่อของสมาชิก รวมทั้งค้ำประกันการให้เช่าซื้อหรือให้ยืมทรัพย์สินอื่นแก่สมาชิก  ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการ  และเงินหรือทรัพย์สินจากทางราชการ หรือหน่วยงานต่างประเทศ เป็นต้น

            การดำเนินงานตามข้อนี้ สหกรณ์จะต้องปรึกษากับผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์ก่อน

 

การรับฝากเงิน

            ข้อ 30. การรับฝากเงิน สหกรณ์อาจรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือ สหกรณ์อื่นได้ตามระเบียบของสหกรณ์ ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

            ข้อกำหนดเกี่ยวกับการฝาก ดอกเบี้ย การถอนเงินฝาก และข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

            ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

การให้เงินกู้

            ข้อ 31. การให้เงินกู้ เงินกู้นั้นอาจให้ได้แก่

           (1) สมาชิกของสหกรณ์

           (2) สหกรณ์อื่น

การให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้ได้ตามข้อบังคับนี้และตามระเบียบของสหกรณ์

ข้อกำหนดต่าง ๆ  เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้ ประเภทและจำกัดแห่งเงินกู้ หลักประกันสำหรับเงินกู้ ลำดับแห่งการให้เงินกู้ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การส่งชำระหนี้เงินกู้ การควบคุมหลักประกัน การเรียกคืนเงินกู้และอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

การให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่นนั้น คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณาให้กู้ได้ต่อเมื่อสหกรณ์มีเงินทุนเหลือจากการให้เงินกู้แก่สมาชิกแล้ว ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

สมาชิก หรือสหกรณ์อื่นซึ่งประสงค์จะขอกู้เงินจากสหกรณ์นี้ ต้องเสนอคำขอกู้เงินตามแบบและระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้

           ข้อ 32. ความมุ่งหมายแห่งเงินกู้ เงินกู้ซึ่งให้แก่สมาชิกไม่ว่าประเภทใด ๆ จะให้ได้แต่เฉพาะเพื่อการอันจำเป็น หรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร

            ให้คณะกรรมการดำเนินการสอดส่อง และกวดขันการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้ตรงตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น

 

การฝากหรือลงทุนเงินของสหกรณ์

             ข้อ 33. การฝากหรือลงทุนเงินของสหกรณ์   เงินของสหกรณ์นั้นสหกรณ์อาจฝาก   หรือลงทุนได้ตามที่กำหนดกำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์    และตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดภายใต้กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงและประโยชน์สูงสุดที่สหกรณ์หรือสมาชิกจะได้รับ

การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกัน

             ข้อ 34. วงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน ที่ประชุมใหญ่อาจกำหนดวงเงินกู้ยืม หรือการค้ำประกันสำหรับปีหนึ่งๆไว้ตามที่จำเป็นและสมควรแก่การดำเนินงาน   วงเงินซึ่งกำหนดดังว่านี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน สหกรณ์

ถ้าที่ประชุมใหญ่ยังมิได้กำหนด  หรือนายทะเบียนสหกรณ์ยังมิได้ให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมสำหรับปีใด ก็ให้ใช้วงเงินกู้ยืมสำหรับปีก่อนไปพลาง

             ข้อ 35. การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกัน  สหกรณ์อาจกู้ยืมเงิน หรือออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารการเงิน หรือโดยวิธีอื่นใด สำหรับใช้เป็นทุนดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ได้ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร ทั้งนี้ จะต้องอยู่ภายในวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกันประจำปีตามข้อ 34

การเงินและการบัญชีของสหกรณ์

             ข้อ 36. การลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์ การลงลายมือชื่อเพื่อให้มีผลผูกพันสหกรณ์ เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นพิเศษตามข้อบังคับนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้

                      (1) หนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม ตลอดจนการเบิก หรือรับเงินกู้ การจำนองซึ่งสหกรณ์เป็นผู้จำนอง การถอนเงินฝากของสหกรณ์ และในนิติกรรมอื่น ๆ จะต้องลงลายมือชื่อของประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก  หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้จัดการ หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย รวมเป็นสองคน

                     (2) การรับฝากเงิน ใบรับเงิน และเอกสารทั้งปวง นอกจากที่กล่าวไว้ใน (1) ข้างบนนี้ จะต้อง ลงลายมือชื่อของผู้จัดการ และหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

อนึ่ง  ในหนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม เช็ค ใบสั่งจ่ายเงิน ใบรับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตราสารการเงินของสหกรณ์นั้น ต้องประทับตราของสหกรณ์เป็นสำคัญด้วย

              ข้อ 37. การเงินของสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการต้องดำเนินการในทางอันสมควร เพื่อให้การเงินของสหกรณ์เป็นไปโดยเรียบร้อยและเกิดประโยชน์แก่สหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

             (1) การรับจ่ายและเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

                     (2) การรับจ่ายเงินของสหกรณ์ต้องกระทำที่สำนักงานของสหกรณ์เท่านั้น เว้นแต่มีกรณีอันจำเป็นที่ไม่อาจปฏิบัติได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณากำหนดวิธีปฏิบัติได้ตามสมควร

              ข้อ 38. การบัญชีของสหกรณ์ให้สหกรณ์จัดให้มีการทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์

กำหนด และเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่สำนักงานสหกรณ์ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียน สหกรณ์กำหนด

ให้บันทึกรายการเกี่ยวกับบัญชีกระแสเงินสดในวันที่เกิดเหตุนั้น สำหรับเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกระแสเงินสด ให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีภายในสามวันนับแต่วันที่เกิดเหตุอันจะต้องบันทึกรายการนั้น และการลงบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน

ให้สหกรณ์จัดทำงบดุลอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือนอันจัดว่าเป็นรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์ซึ่ง ต้องมีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของสหกรณ์กับทั้งบัญชีกำไรขาดทุน ตามแบบที่นายทะเบียน สหกรณ์กำหนดวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี

               ข้อ 39. การเสนองบดุลต่อที่ประชุมใหญ่ ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนองบดุล  ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ ตรวจสอบและรับรองแล้วเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี

ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ด้วยในคราวที่เสนองบดุล    และให้ส่งสำเนารายงานประจำปีกับงบดุลไปยังนายทะเบียนสหกรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประชุมใหญ่

อนึ่ง ให้เก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ งบดุลพร้อมทั้งข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ไว้ ณ สำนักงานของสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

               ข้อ 40. ทะเบียนและเอกสารของสหกรณ์ ให้สหกรณ์มีทะเบียนสมาชิก ทะเบียนหุ้น  สมุดรายงานการประชุม ตลอดจนทะเบียนอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรให้มีขึ้น

ให้สหกรณ์ส่งสำเนาทะเบียนสมาชิก    และทะเบียนหุ้นแก่นายทะเบียนสหกรณ์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียน

ให้สหกรณ์รายงานการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิก    หรือทะเบียนหุ้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์

สมาชิกอาจขอตรวจดูเอกสารดังกล่าวในวรรคก่อนได้ ณ สำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงาน แต่จะดูบัญชีหรือทะเบียนเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น เงินฝากหรือเงินกู้ของสมาชิกรายอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของสมาชิกนั้น และได้รับอนุญาตจากผู้จัดการก่อนการตรวจสอบบัญชีและการกำกับดูแลสหกรณ์

               ข้อ 41. การตรวจสอบบัญชี บัญชีของสหกรณ์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปและตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด โดยผู้สอบบัญชีซึ่งนายทะเบียน สหกรณ์แต่งตั้ง

               ข้อ 42. การกำกับดูแลสหกรณ์   นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรม

การดำเนินการสหกรณ์ คณะกรรมการอื่น ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือเชิญสมาชิกของสหกรณ์มา ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์    หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมได้ และมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสำนักงานของสหกรณ์ระหว่างเวลาทำงานของสหกรณ์ได้

ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องตามความในวรรคแรกอำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือ   และให้คำชี้แจงแก่ผู้ปฏิบัติการตามสมควร

                ข้อ 43. การส่งรายการหรือรายงาน   ให้สหกรณ์ส่งรายการหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล   ตามแบบและระยะเวลาที่หน่วยงานนั้นกำหนด

กำไรสุทธิประจำปี

                ข้อ 44. การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี     เมื่อสิ้นปีทางบัญชีและได้ปิดบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี     ที่รับรองทั่วไปแล้ว ปรากฏว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ  ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิและเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ       แต่ต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดกำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรรตามความในวรรคก่อนนั้น ที่ประชุมใหญ่อาจจัดสรรได้ดังต่อไปนี้

                        (1) เป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วให้แก่สมาชิก แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง   โดยคิดให้ตามส่วนแห่งระยะเวลา อนึ่ง ถ้าสหกรณ์ถอนทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลตาม (4) ออกจ่ายเป็นเงินปันผลสำหรับปีใดด้วย จำนวนเงินปันผลทั้งสิ้นที่จ่ายสำหรับปีนั้นก็ต้องไม่เกินอัตราดังกล่าวมาแล้ว

ในการคำนวณเงินปันผลตามหุ้นให้ถือว่าหุ้นที่สมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ภายในวันที่ห้าของเดือน มีระยะเวลาสำหรับคำนวณเงินปันผลตั้งแต่เดือนนั้นส่วนหุ้นที่สมาชิกชำระต่อสหกรณ์หลังวันที่ห้าของเดือนสหกรณ์   จะคิดเงินปันผลให้ตั้งแต่เดือนถัดไป

                        (2) เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้ทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปี ซึ่งอาจจัดให้มีดังต่อไปนี้

                              ก. เฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งจำนวนเงินดอกเบี้ยที่สมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ระหว่างปี แต่สมาชิกที่ผิดนัดส่งชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใด มิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนในปีนั้น

                     ข. เฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งจำนวนเงินค่าเช่า   ค่าบริการ หรือค่าน้ำ  ที่สมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ระหว่างปี แต่สมาชิกที่ค้างชำระค่าเช่า ค่าบริการ หรือค่าน้ำในปีให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนนั้นๆ สำหรับปีนั้น

                              ค. เฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งธุรกิจการค้า (ถ้ามี) ซึ่งสหกรณ์กระทำกับสหกรณ์ในการซื้อ  หรือรวบรวมผลิตผลจากสมาชิก หรือในการจำหน่ายสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่สหกรณ์

                (3) เป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ

                        (4) เป็นทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผล ไม่เกินร้อยละสองแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ตาม  ที่มีอยู่ในวันสิ้นปีนั้น ทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลนี้จะถอนได้โดยมติแห่งที่ประชุมใหญ่   เพื่อจ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้น ตาม (1)

                        (5) เป็นทุนเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ     ตามระเบียบของ สหกรณ์

                (6) เป็นทุนสาธารณประโยชน์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ ตามระเบียบของสหกรณ์

                        (7) เป็นทุนสวัสดิการ หรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิตามระเบียบของสหกรณ์

                (8) เป็นทุนเพื่อจัดตั้งสำนักงานหรือทุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สหกรณ์

                (9) กำไรสุทธิส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น

 

ทุนสำรอง

             ข้อ 45. ที่มาแห่งทุนสำรอง   นอกจากจัดสรรจากกำไรสุทธิตามข้อ 44 แล้ว บรรดาเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้แก่สหกรณ์ ถ้าผู้ยกให้มิได้กำหนดว่าให้ใช้เพื่อการใด ให้จัดสรรเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินนั้นเป็นทุนสำรองของสหกรณ์

อนึ่ง จำนวนเงินซึ่งสหกรณ์พึงจ่ายแก่บุคคลใดก็ตาม ถ้าไม่มีการเรียกร้องจนพ้นกำหนดอายุความ ก็ให้สมทบจำนวนเงินนั้นเป็นทุนสำรอง

กำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเสนอแนะให้ที่ประชุมใหญ่จัดสรรตามข้อ 44 หากที่ประชุมใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการใดไม่สมควรจัดสรรหรือตัดจำนวนให้น้อยลงก็ดี ยอดเงินจำนวนดังกล่าวให้สมทบเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น

             ข้อ 46. สภาพแห่งทุนสำรอง   ทุนสำรองย่อมเป็นของสหกรณ์โดยส่วนรวม สมาชิกจะแบ่งปันกันไม่ได้   หรือจะเรียกร้องแม้ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ไม่ได้

ทุนสำรองนี้จะถอนจากบัญชีได้เพื่อชดเชยการขาดทุนอันหากบังเกิดขึ้น หรือเพื่อจัดสรรเข้าบัญชีทุนสำรองให้แก่สหกรณ์ใหม่ที่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกจากสหกรณ์เดิม

 

หมวด 5 สมาชิก

ข้อ 47. สมาชิก   สมาชิกสหกรณ์นี้คือ

(1) ผู้ที่มีชื่อและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์   และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว

(2) ผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับที่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วนแล้ว

ข้อ 48. คุณสมบัติของสมาชิก   สมาชิกต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทย

(2) เป็นเกษตรกรและบรรลุนิติภาวะ

(3) เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริตและมีความประพฤติดี

(4) ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพและรู้จักประหยัดทรัพย์

(5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(6) มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ   หรือเสมือนไร้ความสามารถ

(7) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ

(8) ไม่เป็นสมาชิกของสหกรณ์อื่นซึ่งเป็นสหกรณ์ประเภทเดียวกัน

(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากสหกรณ์ใดๆ เว้นแต่เมื่อพ้นกำหนดห้าปีแล้ว

(10) เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์นี้

ข้อ 49. การเข้าเป็นสมาชิก     ผู้สมัครเป็นสมาชิกตามข้อบังคับต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้

ผู้สมัครจะต้องเข้าสังกัดกลุ่มสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง     ซึ่งมีอยู่เดิมหรือซึ่งจะตั้งขึ้นใหม่ตามที่ตนตั้งบ้านเรือนหรือใกล้เคียง หรือมีผลประโยชน์จากการชลประทานร่วมกัน หรือมีลักษณะงานเกษตรกรรมทำนองเดียวกัน

ทั้งนี้ให้ยื่นใบสมัครดังกล่าวในวรรคแรกผ่านประธานกลุ่มนั้นเพื่อเสนอที่ประชุมกลุ่ม (กลุ่มสมาชิกหรือกลุ่มผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก) สอบสวนพิจารณา

เมื่อที่ประชุมกลุ่ม (กลุ่มสมาชิกหรือกลุ่มผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก) ได้สอบสวนพิจารณา ปรากฏว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามข้อ 48 ทั้งที่ประชุมกลุ่มเห็นสมควรและลงมติรับรองโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนผู้ที่เข้าประชุมแล้ว   คณะกรรมการดำเนินการจึงรับพิจารณาผู้สมัครนั้นได้

เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเป็นที่พอใจว่าผู้สมัคร ซึ่งที่ประชุมกลุ่มรับรองแล้วนั้น   มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 48   ทั้งเห็นเป็นการสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกได้   ก็ให้แจ้งผู้สมัครนั้นลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือจนครบถ้วนแล้ว จึงถือว่าได้เข้าเป็นสมาชิกของสหกรณ์ในสังกัดกลุ่มซึ่งรับรองนั้น

ให้สหกรณ์แจ้งเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ ให้ที่ประชุมกลุ่มทราบโดยเร็วและให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เสนอเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ให้ที่ประชุมใหญ่คราวถัดไปทราบ

ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่ยอมรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยเหตุใด ๆ เมื่อผู้สมัครร้องขอ     ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการนำเรื่องเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มติแห่งที่ประชุมใหญ่ให้รับเข้าเป็นสมาชิกในกรณีดังว่านี้   ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม

ข้อ 50. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า   ผู้เข้าเป็นสมาชิกจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์คนละ   200 บาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์จะเรียกคืนไม่ได้

ข้อ 51. สิทธิหน้าที่ในฐานะสมาชิก ผู้เข้าเป็นสมาชิกต้องลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิกกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วน เมื่อได้ปฏิบัติดังนี้แล้วจึงถือว่าได้สิทธิในฐานะสมาชิก

สิทธิของสมาชิกมีดังนี้

(1) เข้าร่วมประชุมใหญ่ เพื่อเสนอความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน

(2) เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ

(3) เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรือผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์

(4) ได้รับบริการทางธุรกิจและทางวิชาการจากสหกรณ์

(5) สิทธิอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์

หน้าที่ของสมาชิก มีดังนี้

(1) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

(2) เข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่สหกรณ์นัดหมาย

(3) ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข็มแข็ง

(4) สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์

(5) ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์   พัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง

ข้อ 52. การเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติ และที่อยู่   สมาชิกคนใดเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

การตั้งผู้รับโอนประโยชน์

ข้อ 53. การตั้งผู้รับโอนประโยชน์   สมาชิกจะทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้เป็นผู้รับโอนประโยชน์ซึ่งตนมีอยู่ในสหกรณ์ในเมื่อตนตายนั้น มอบให้สหกรณ์ถือไว้ หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ดังว่านี้ต้องทำตามลักษณะพินัยกรรม

ถ้าสมาชิกประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้ว ก็ต้องทำเป็นหนังสือตามลักษณะดังกล่าวในวรรคก่อนมอบให้สหกรณ์ถือไว้

เมื่อสมาชิกตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบ และสหกรณ์จะจ่ายเงินค่าหุ้น  เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินผลประโยชน์หรือเงินอื่นในบรรดาที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ใน สหกรณ์ให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดในข้อ 58 วรรคแรก และข้อ 59

ให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่สมาชิกตายหรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่าสมาชิกนั้น ๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย  เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและอนุมัติแล้ว สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน   ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ หรือผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนประโยชน์ที่สมาชิกได้จัดทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวอยู่ก็ดี  เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องคดี ให้สหกรณ์โอนจำนวนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น

การขาดจากสมาชิกภาพ

ข้อ 54. การขาดจากสมาชิกภาพ   สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ตาย

(2) ลาออกจากสหกรณ์

(3) ย้ายไปอยู่นอกท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ หรือดำเนินงานเกษตรกรรมส่วนใหญ่นอกท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์

(4) ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย

(5) ขาดคุณสมบัติของสมาชิกตามข้อ 48

(6) ถูกให้ออกจากสหกรณ์

ข้อ 55. การลาออกจากสหกรณ์     สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สินอยู่ต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันหรือ     หนี้สินอื่นที่ผูกพันจะต้องชำระต่อสหกรณ์อาจลาออกจากสหกรณ์ได้    โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อประธานกลุ่มที่ตนสังกัดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับและอนุญาตแล้ว   จึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้

คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือกรรมการดำเนินการสอบสวนพิจารณา หากเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับ ก็ให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ตามความในวรรคก่อนได้   แล้วให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบด้วย

ข้อ 56. การให้ออกจากสหกรณ์ สมาชิกอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือไม่ชำระค่าหุ้นตามข้อ 47

(2) ไม่ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาล ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าบำรุงสหกรณ์ ค่าเช่า ค่าเช่าซื้อ ค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงบำรุงที่ดิน ค่าบริการ หรือเงินอื่นใดที่สหกรณ์กำหนดให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด

(3) ไม่ใช้วิธีปฏิบัติในการประกอบเกษตรกรรม   และบำรุงรักษาที่ดิน ซึ่งตนได้รับจัดสรรให้ครอบครองประกอบอาชีพตามที่ที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมกลุ่มกำหนด หรือทอดทิ้งไม่ตั้งใจทำการเกษตรกรรมตามฤดูกาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือทำลายสภาพดิน หรือนำที่ดินที่ครอบครองไปให้บุคคลอื่นทำประโยชน์ทั้งหมดหรือบางส่วน

(4) ไม่อพยพบ้านเรือนเข้าไปอยู่ในที่ดินที่ตนครอบครองตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด หรือผิดสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการครอบครองที่ดิน

(5) ไม่ช่วยเหลือการงานอันเป็นประโยชน์ส่วนรวมของสหกรณ์

(6) มีกรณีใดๆ ที่สหกรณ์ต้องเรียกคืนเงินกู้ หรือสินเชื่ออื่นๆ

(7) ขายผลิตผล หรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่เสนอเป็นหลักประกันเงินกู้โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ

(8) จงใจหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนมติข้อตกลงในการครอบครองและการบำรุงปรับปรุงที่ดิน เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมกลุ่ม

(9) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีกำหนดโทษขั้นลหุโทษ

(10) จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือมติและคำสั่งของสหกรณ์ หรือของที่ประชุมกลุ่มที่ตนสังกัด หรือประพฤติการใดๆอันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือทำให้เสื่อมเสียต่อสหกรณ์หรือกลุ่มสมาชิก ไม่ว่าด้วยประการใดๆ

เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่า สมาชิกมีเหตุใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น และได้ลงมติให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ทั้งหมดในขณะ นั้นแล้ว ก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์ ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้สมาชิกผู้นั้นทราบ

สมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ โดยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบมติการให้ออก คำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นที่สุด

ข้อ 57. การถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก   ในกรณีที่สมาชิกออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ ให้คณะกรรมการดำเนินการถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก

อนึ่ง ให้สหกรณ์แจ้งเรื่องสมาชิกออกให้ประธานกลุ่มซึ่งเกี่ยวข้องเสนอที่ประชุมกลุ่มทราบโดยเร็ว

ข้อ 58. การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิภาพ เพราะเหตุตามข้อ 54 (1) , (2) , (3) และ (5) นั้น สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้น เงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกซึ่งออกเพราะเหตุอื่น พร้อมด้วยเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิได้รับจะเรียกให้

สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืนหลังวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออก โดยได้รับเป็นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วย ในเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้สุดแต่จะเลือก    ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้นสหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตามระเบียบของสหกรณ์

ถ้าในปีใดจำนวนค่าหุ้นที่ถอนคืนเนื่องจากสมาชิกขาดจากสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันต้นปีนั้น    คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้รอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพรายต่อไปในปีนั้นไว้จนถึงปีทางบัญชีใหม่

ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์ คืนให้ตามกฎหมายล้มละลาย

ในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 54 (6) นั้น  สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย  บรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร  โดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนตั้งแต่ประจำปีที่ออกจากสหกรณ์ หรือหากสมาชิกขอให้จ่ายค่าหุ้นภายหลังวันสิ้นปี โดยขอรับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนในปีนั้นภายหลังที่ที่ประชุมใหญ่ได้พิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีก็ได้ ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายให้ตามระเบียบของสหกรณ์

ข้อ 59. การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกต้องรับผิดต่อสหกรณ์    ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกตามข้อ 58 นั้น สหกรณ์มีอำนาจหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกต้องรับผิดต่อสหกรณ์ออกก่อน

ความรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์

ข้อ 60. ความรับผิดของสมาชิก สมาชิกมีความรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

กลุ่มสมาชิก

ข้อ 61. กลุ่มสมาชิก สมาชิกทุกคนต้องเข้าสังกัดกลุ่มสมาชิกใดกลุ่มสมาชิกหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นโดยรวบรวมสมาชิกผู้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน   หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในการใช้ที่ดินของตน   หรือมีลักษณะงานเกษตรเกษตรกรรมทำนองเดียวกัน

สมาชิกจะย้ายจากกลุ่มหนึ่งไปเข้าสังกัดอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งตนอยู่ใกล้เคียง   และมีลักษณะงานเกษตรกรรม

ทำนองเดียวกันได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ที่ประชุมกลุ่มเดิมทราบ และที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนจะเข้านั้น ได้ลงมติรับรองโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนสมาชิกที่มาประชุม และให้ประธานกลุ่มทั้งสองแจ้งเรื่องนี้ให้สหกรณ์ทราบโดยเร็ว

สำหรับสมาชิกที่ไม่อาจสังกัดกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด     ก็ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ ที่จะ

พิจารณาตามที่เห็นสมควร

ข้อ 62. การประชุมกลุ่ม   ให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มนัดเรียกบรรดาสมาชิกในกลุ่มประชุมกันเป็นการประชุมกลุ่มเป็นคราวๆ ไป เพื่อกิจการดังระบุในข้อ 63 อนึ่ง กรรมการดำเนินการหรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือหัวหน้านิคมสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้านิคมสหกรณ์อาจเรียกประชุมกลุ่มได้

บรรดาสมาชิกในแต่ละกลุ่ม มีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนสังกัดนั้นโดยพร้อมเพียงทุกคราว ที่นัดเรียก

ในการประชุมกลุ่ม ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนสมาชิกในกลุ่มนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุม

การประชุมกลุ่มคราวใดถ้ามีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้นัดเรียกประชุมใหม่อีกคราวหนึ่งภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก และในการประชุมคราวหลังนี้ไม่บังคับว่าต้องครบองค์ประชุม

ในการประชุมกลุ่มนอกจากจะได้กระทำกันตามคราวที่มีกิจธุระแล้ว จะต้องจัดให้มีขึ้นก่อนการประชุมใหญ่สามัญของสหกรณ์ทุกครั้ง เพื่อพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องราวที่จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณา ให้ถือว่ามติของ ที่ประชุมกลุ่มมีผลผูกพันบรรดาสมาชิกในกลุ่มนั้นๆ

ข้อ 63. กิจกรรมของที่ประชุมกลุ่ม กิจกรรมของที่ประชุมกลุ่มมีดังต่อไปนี้

(1) พิจารณาเรื่องผู้สมัครรับเลือกเข้าเป็นสมาชิก

(2) รับทราบเรื่องสหกรณ์รับสมาชิกเข้าใหม่ในสังกัดกลุ่มนั้น ๆ  และรับทราบเรื่องสมาชิกในสังกัดกลุ่มนั้น ๆ ออกจากสหกรณ์

(3) เลือกตั้งและถอดถอนประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม

(4) เลือกตั้งผู้แทนสมาชิก

(5) สอบสวนการใช้เงินของสมาชิกผู้กู้ และซักซ้อมสมาชิกเกี่ยวกับการชำระหนี้ การใช้เครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์การผลิตและการแปรรูป การจัดซื้อและหาสิ่งของมาจำหน่ายแก่สมาชิก การเก็บรักษา และจัดการเพื่อขายผลิตผลผลิตภัณฑ์ของสมาชิก และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

(6) เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร และการขายผลิตผลในหมู่สมาชิก  ตลอดจนแนะนำสมาชิกเพื่อใช้วิธีปฏิบัติทางเกษตรกรรมอันได้ผลดีขึ้น

(7) ให้การศึกษาอบรมทางสหกรณ์ และทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในหมู่สมาชิก ตลอดจนชักจูงการฝากเงินในสหกรณ์

(8) พิเคราะห์ร่วมมือปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ หรือของคณะกรรมการดำเนินการ หรือของคณะกรรมการเงินกู้ หรือคณะกรรมการอื่นๆ

(9) พิเคราะห์และดำเนินการเรื่องอื่นๆ ในทางส่งเสริมกิจการของสหกรณ์หรือการประกอบอาชีพ หรือการสังคมในหมู่สมาชิก

ข้อ 64. ประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม     ให้ที่ประชุมกลุ่ม   (กลุ่มสมาชิกหรือกลุ่มผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก) เลือกตั้งสมาชิกในกลุ่มเป็นประธานกลุ่มคนหนึ่ง และเลขานุการกลุ่มคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นการประจำทุกหนึ่งปีทางบัญชีของสหกรณ์    ถ้าเมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีการเลือกตั้งประธานกลุ่ม หรือเลขานุการกลุ่มขึ้นใหม่ก็ให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มคนเดิมอยู่ในตำแหน่งต่อไปพลางจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่  ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มซึ่งออกจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำได้

ผู้ซึ่งเคยถูกที่ประชุมกลุ่มใด ๆ ถอดถอนจากตำแหน่งประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มมาแล้ว ไม่ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มอีก เว้นแต่เมื่อพ้นกำหนดสองปีแล้ว

ประธานกลุ่มมีหน้าที่เป็นประธานและดูแลกิจการทั่วไปของที่ประชุมกลุ่ม   เป็นสื่อติดต่อระหว่างสหกรณ์และกลุ่มสมาชิก และปฏิบัติกิจการอื่นๆ ตามที่สหกรณ์มอบให้หรือกำหนดในข้อบังคับ

เลขานุการกลุ่ม มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานกลุ่ม และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกลุ่มในเมื่อประธานกลุ่มไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

ให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนกลุ่ม

หมวด 6

สมาชิกสมทบ

ข้อ 65. สมาชิกสมทบ สหกรณ์อาจรับสมาชิกสมทบได้ตามที่เห็นสมควร โดยต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบด้วยความสมัครใจ และมีความประสงค์จะใช้บริการต่าง ๆ ของสหกรณ์เป็นการประจำ

ข้อ 66. คุณสมบัติของสมาชิกสมทบ     สมาชิกสมทบต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(1) เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

(2) เป็นบุคคลธรรมดาทั้งบรรลุนิติภาวะและยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร

(3) ตั้งบ้านเรือนอยู่ท้องที่ทุกตำบลทุกอำเภอในจังหวัดลพบุรี

(4) เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม

(5) เป็นผู้ที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

ข้อ 67. การเข้าเป็นสมาชิกสมทบ ผู้ประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ โดยต้องมีสมาชิกสหกรณ์นี้ไม่น้อยกว่า 2 คนรับรอง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ 66 ทั้งเห็นเป็นการสมควรแล้วก็ให้รับเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้ และต้องจัดให้ผู้สมัครได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกสมทบกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามที่จะถือครบถ้วน

เมื่อสมาชิกสมทบได้ปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้วย่อมได้สิทธิในฐานะสมาชิกสมทบ

ข้อ 68. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าในวันที่ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกจำนวนเงิน 200 บาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือว่าเป็นรายได้ของสหกรณ์ จะเรียกคืนไม่ได้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ

ข้อ 69. การให้บริการ สหกรณ์อาจให้บริการหรือสวัสดิการแก่สมาชิกสมทบได้ตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่ขัดกับข้อห้ามมิให้สมาชิกสมทบใช้สิทธิในสหกรณ์ ทั้งนี้ ประเภทของบริการ หลักเกณฑ์ ข้อกำหนด วิธีการให้บริการและอื่น ๆ ตลอดจนสวัสดิการและผลตอบแทนจากการใช้บริการ ให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์

ข้อ 70. สิทธิและหน้าที่ในฐานะสมาชิกสมทบ สมาชิกสมทบมีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกเฉพาะในส่วนที่ไม่ขัดกับกฎหมายสหกรณ์ รวมทั้งไม่ให้สิทธิในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. นับชื่อเข้าเป็นองค์ประชุมในการประชุมใหญ่และประชุมกลุ่มสมาชิก
  2. ออกเสียงในเรื่องใด ๆ ของสหกรณ์
  3. เข้าเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์

ให้สมาชิกสมทบได้รับสิทธิไม่มากกว่าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. ถือหุ้นในสหกรณ์ได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดที่สหกรณ์มีอยู่ในขณะ

   นั้นและมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

  1. มีสิทธิฝากเงินกับสหกรณ์เฉพาะประเภทเงินฝากประจำ
  2. มีสิทธิได้รับเงินกู้หรือสินเชื่อจากสหกรณ์รวมกันทุกประเภทไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่า

   หุ้นหรือเงินฝากที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในเวลานั้น

การขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมทบ

ข้อ 71. การขาดจากสมาชิกภาพ   สมาชิกสมทบย่อมขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ตาย

(2) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

(3) ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย

(4) ลาออกจากสหกรณ์   และได้รับอนุญาตแล้ว

(5) ถูกให้ออกจากสหกรณ์

ข้อ 72. การลาออกจากสหกรณ์   สมาชิกสมทบอาจขอลาออกจากสหกรณ์ได้ โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการและเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับและอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้

ข้อ 73. การให้ออกจากสหกรณ์  สมาชิกสมทบอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า

(2) ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกสมทบ

(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติและคำสั่งของสหกรณ์

(4) แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือทำให้เสื่อมเสียต่อสหกรณ์ไม่ว่าโดยประการใด ๆ

ข้อ 74. การเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติ และที่อยู่      สมาชิกสมทบคนใดมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชื่อ สัญชาติและที่อยู่   ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

ข้อ 75. การตั้งผู้รับโอนประโยชน์   สมาชิกสมทบจะทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้เป็น ผู้รับโอนประโยชน์ซึ่งตนมีอยู่ในสหกรณ์ในเมื่อตนตายนั้นมอบให้สหกรณ์ถือไว้ หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ดังว่านี้ต้องทำตามลักษณะพินัยกรรม

ถ้าสมาชิกสมทบประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้ว ก็ต้องทำเป็นหนังสือตามลักษณะดังกล่าวในวรรคก่อนมอบให้สหกรณ์ถือไว้

เมื่อสมาชิกสมทบตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบ  และสหกรณ์จะจ่ายเงินค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และเงินผลประโยชน์หรือเงินอื่นใดบรรดาที่สมาชิกสมทบ ผู้ตายมีอยู่ในสหกรณ์ให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดในข้อ 76 วรรคแรกและข้อ 77

ให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่สมาชิกสมทบตายหรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณะบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่าสมาชิกสมทบนั้นๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและอนุมัติแล้ว สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ หรือผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนประโยชน์ที่สมาชิกสมทบได้จัดทำให้ สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวอยู่ ก็ดี เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องคดีให้สหกรณ์โอนจำนวนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น

ข้อ 76. การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกสมทบที่ขาดจากสมาชิกภาพ ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 71 (1) , (2) , (4) นั้น   สหกรณ์จะจ่ายคืนค่าหุ้นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกสมทบมีอยู่ในสหกรณ์ให้ก่อนค่าหุ้นของสมาชิกสมทบซึ่งออกเพราะเหตุอื่น    พร้อมด้วยเงินปันผล

และเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืนหลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีที่ออกโดยได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วยในเมื่อที่ประชุมใหญ่ มีมติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้สุดแต่จะเลือก ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตามระเบียบของสหกรณ์

ถ้าในปีใด จำนวนค่าหุ้นที่ถอนคืนเนื่องจากสมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันต้นปีนั้น   คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้รอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพรายต่อไปในปีนั้นไว้จนถึงปีทางบัญชีใหม่

ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 71 (3) สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล   และเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย   บรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ตามกฎหมาย

ล้มละลาย

ในกรณีที่สมาชิกสมทบขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 71 (5) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกสมทบนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร โดยไม่มีเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนตั้งแต่ประจำปีที่ออกจากสหกรณ์   หรือหากสมาชิกสมทบขอให้จ่ายค่าหุ้นภายหลังวันสิ้นปี โดยขอรับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนในปีนั้นภายหลังที่ที่ประชุมใหญ่ได้พิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีก็ได้ ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายให้ตามระเบียบของสหกรณ์

ข้อ 77. การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์    ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิก สมทบตามข้อ 76 นั้น สหกรณ์มีอำนาจหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์ออกก่อน

ข้อ 78. การถอนชื่อสมาชิกสมทบออกจากทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกสมทบออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ให้คณะกรรมการดำเนินการถอนชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนสมาชิก

หมวด 7

การประชุมใหญ่

ข้อ 79. การประชุมใหญ่สามัญ    ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์นัดสมาชิกมาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียนสหกรณ์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการและมอบหมายการทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการดำเนินการ

การประชุมใหญ่สามัญครั้งต่อไป   ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์

ข้อ 80. การประชุมใหญ่วิสามัญ คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ หรือในกรณีที่สหกรณ์ขาดทุนเกินกึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้วต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิชักช้า แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ทราบ

สมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน หรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคนลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้ และให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องขอ

ถ้าคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว   ให้

นายทะเบียนสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายมีอำนาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร

ข้อ 81. การประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก กรณีที่สหกรณ์มีสมาชิกเกินกว่า 2,000 คน ให้การประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกเท่านั้น

ข้อ 82. การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้แทนสมาชิก

(1) สมาชิกเท่านั้นมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนสมาชิก

(2) การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกคราวหนึ่งๆให้กระทำในที่ประชุมกลุ่มก่อนการประชุมใหญ่สามัญของสหกรณ์ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่ม (ถ้ามี) หรือตัวแทนกลุ่มแจ้งรายชื่อผู้แทนสมาชิกในกลุ่มของตนต่อสหกรณ์โดยมิชักช้า

(3) ให้ที่ประชุมกลุ่มดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก โดยอัตราส่วนจำนวนสมาชิก 20 คนต่อผู้แทนสมาชิกหนึ่งคน ถ้าเศษของอัตราส่วนดังกล่าวเกินกึ่งให้เลือกตั้งผู้แทนสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ในจำนวนนี้ให้ประธานกลุ่ม (ถ้ามี) เป็นผู้แทนสมาชิกโดยตำแหน่ง  โดยให้นับรวมอยู่ในจำนวนผู้แทนสมาชิกที่กลุ่มพึงเลือกตั้งได้        

         อนึ่ง จำนวนผู้แทนสมาชิกจะมีน้อยกว่าหนึ่งร้อยคนไม่ได้

(4) ให้ผู้แทนสมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละหนึ่งปีทางบัญชีของสหกรณ์ ถ้ายังไม่มีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกใหม่   ก็ให้ผู้แทนสมาชิกคนเดิมอยู่ในตำแหน่งต่อไปพลางก่อน

ข้อ 83. การพ้นจากตำแหน่ง ผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ครบวาระหรือมีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกใหม่

(2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนสังกัด

(3) ออกจากกลุ่มที่ตนสังกัด

(4) ขาดจากสมาชิกภาพ

(5) ที่ประชุมกลุ่มซึ่งตนสังกัดลงมติถอดถอน

ข้อ 84. ตำแหน่งผู้แทนสมาชิกว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ   ถ้าผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยประการใด ๆ   จนทำให้จำนวนผู้แทนสมาชิกเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยคนหรือเหลือไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้แทน

สมาชิกทั้งหมด ก็ให้ที่ประชุมกลุ่มดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามจำนวนที่ว่างลงและให้ผู้แทนสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนนั้นชอบจะอยู่ได้

ข้อ 85. การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ เมื่อมีการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งวัน เวลา  สถานที่   และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้าการประชุมนั้นเป็นการด่วนอาจแจ้งล่วงหน้าได้ตามสมควร      ทั้งนี้ให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ หรือเลขานุการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น   และต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชี สหกรณ์ทราบล่วงหน้า   ในโอกาสเดียวกันกับที่แจ้งให้สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบด้วย

ข้อ 86. องค์ประชุมในการประชุมใหญ่   การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน  ในกรณีเป็นการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิกต้องมีผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน จึง จะเป็นองค์ประชุม

ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก สมาชิกทั่วไปสามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงและแสดงความคิดเห็นหรือได้รับเลือกตั้งใดๆ   ทั้งสิ้น

ในการประชุมใหญ่ สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนไม่ได้

ข้อ 87. การนัดประชุมใหญ่ครั้งที่สอง   ในการประชุมใหญ่ของสหกรณ์   ถ้าสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณีมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมใหญ่ครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลังนี้ ถ้ามิใช่การประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณี มาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าสามสิบคนก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม    แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม  เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมมีจำนวนไม่ถึงที่จะเป็นองค์ประชุมตามที่กล่าวใน ข้อ 86 วรรคแรก ก็ให้งดประชุม

ข้อ 88. อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเรื่องทั้งปวงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) รับทราบเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ สมาชิกออกจากสหกรณ์ การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกและวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของผู้สมัครซึ่งมิได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก และสมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์

(2) พิจารณาเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการและผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์

(3) พิจารณาอนุมัติงบดุล และจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์

(4) รับทราบรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ของคณะกรรมการดำเนินการและของผู้ตรวจสอบกิจการ

(5) พิจารณากำหนดบำเหน็จค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของกรรมการดำเนินการ หรือกรรมการอื่น ๆ และผู้ตรวจสอบกิจการ

(6) พิจารณากำหนดวงเงินซึ่งสหกรณ์อาจกู้ยืมหรือค้ำประกัน

(7) อนุมัติแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์

(8) พิจารณาการแยกสหกรณ์

(9) กำหนดค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก และค่าเบี้ยประชุมของกรรมการดำเนินการ   กรรมการอื่น ๆ ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

(10) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

(11) พิจารณาการอุทธรณ์ข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการดำเนินการ

(12) พิจารณาไถ่ถอนหรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของสหกรณ์

(13) รับทราบเรื่องการดำเนินงานของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  และชุมนุมสหกรณ์    ที่สหกรณ์นี้เป็นสมาชิกอยู่

(14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามบันทึกหรือหนังสือของนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียน สหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียน สหกรณ์มอบหมาย

(15) กำหนดรูปการซึ่งสหกรณ์คิดจะทำเป็นเครื่องเกื้อหนุนบรรดาสมาชิกตามวัตถุประสงค์ของ สหกรณ์

หมวด 8

คณะกรรมการดำเนินการ

ข้อ 89. คณะกรรมการดำเนินการ    ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์   ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการดำเนินการอีก 14 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก

ให้กรรมการดำเนินการเลือกตั้งในระหว่างกันเองขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลาย คน เลขานุการคนหนึ่ง และ/หรือเหรัญญิกคนหนึ่ง     นอกนั้นเป็นกรรมการและปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ณ สำนักงานสหกรณ์

ห้ามไม่ให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นหรือทำหน้าที่กรรมการดำเนินการ

(1) เป็นสมาชิกของสหกรณ์นี้เป็นเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์นับถึงวันประชุมใหญ่ที่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ เว้นแต่สหกรณ์ตั้งใหม่

(2) เคยถูกให้ออกจากสหกรณ์นี้

(3) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต

(4) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน   ฐานทุจริตต่อหน้าที่

(5) เคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์

(6) เคยถูกที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งกรรมการเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่

(7) สมาชิกซึ่งผิดนัดการชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงิน หรือดอกเบี้ย ในระยะเวลาสองปีทางบัญชี นับแต่ ปีที่ผิดนัดถึงปีที่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการ  เว้นแต่การผิดนัดนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง

(8) ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์นี้

ข้อ 90. อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง

(ก) ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

     (1) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและควบคุมการ  

         ประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

     (2) ควบคุมดูแลการดำเนินการงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและอยู่

         ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

     (3) ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

     (4) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ

         ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

(ข) รองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

     (1) ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ   เมื่อประธาน

         กรรมการไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง

     (2) ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้

     (3) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ

         ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

(ค) เลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

     (1) จัดทำรายงานการประชุมใหญ่และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการทุกครั้ง

     (2) ดูแล รักษาเอกสารและรายงานการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

     (3) แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิกหรือกรรมการดำเนินการ แล้วแต่กรณี

     (4) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ    

         ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

(ง) เหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

   (1) ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของสหกรณ์ให้เป็น

         ไปโดยถูกต้องเรียบร้อย

  

(2) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ

     ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

ข้อ 91. กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง   คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจาก

ตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับสลาก (ถ้ามีเศษให้ปัดขึ้น) และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ในปีต่อไปให้กรรมการดำเนินการที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ หรืออยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่งสลับกันไปทุก ๆ ปี

เมื่อครบกำหนดแล้ว หากยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ ก็ให้คณะกรรมการดำเนิน การชุดเดิมรักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีสหกรณ์

กรรมการดำเนินการสหกรณ์   ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกได้   แต่ต้องไม่เกินสองวาระ

ติดต่อกัน

ในกรณีที่กรรมการดำเนินการต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ   ให้กรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับกรรมการดำเนินการชุดแรกและให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

          กรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วสองวาระติดต่อกัน ดำรงตำแหน่งในวาระถัดไปอีกไม่ได้ โดยจะต้องหยุดพักอย่างน้อยหนึ่งปีทางบัญชี จึงจะมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้

ข้อ 92. คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ เมื่อได้รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แล้ว ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จนกว่าที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียนสหกรณ์จะได้เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้น

ให้คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มอบหมายกิจการทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการดำเนินการในวันที่ได้รับเลือกตั้ง

ข้อ 93. การพ้นจากตำแหน่ง   กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่ง   เพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ตาย

(2) ถึงคราวออกตามวาระ

(3) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ   หรือลาออกต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์

(4) ขาดจากสมาชิกภาพ

(5) เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์นี้

(6) ตกเป็นผู้ผิดนัดการส่งชำระหนี้ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ย

(7) ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว

(8) นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้ออกทั้งคณะหรือรายตัว

(9) ขาดประชุมคณะกรรมการดำเนินการติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

ให้กรรมการดำเนินการผู้มีส่วนได้เสียตาม (8) อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้   ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติให้เป็นที่สุด

กรณีที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติถอดถอนให้กรรมการดำเนินการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการใหม่ทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการชุดแรก

ข้อ 94. ตำแหน่งว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระ (เว้นแต่เพราะเหตุตามข้อ 93 (8) ) ให้กรรมการดำเนินการที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะมีการประชุมใหญ่   ซึ่งจะได้มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการแทนในตำแหน่งที่ว่าง   แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการดำเนินการลดลงจนเหลือน้อยกว่าองค์ประชุม   กรรมการดำเนินการที่ดำรงตำแหน่งอยู่จะประชุมดำเนินการใดๆ ไม่ได้ นอกจากต้องนัดเรียกให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นโดยเร็ว

ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระตามความในวรรคก่อนนั้น   เป็นตำแหน่งประธานกรรมการ หากไม่มีรองประธานกรรมการทำหน้าที่แทนและยังมิได้มีการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตั้งใหม่ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาเลือกตั้งกรรมการดำเนินการอื่นขึ้นทำหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่

กรรมการดำเนินการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งขึ้นแทนในตำแหน่งที่ว่างให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนนั้นชอบจะอยู่ได้

ข้อ 95. การประชุมและองค์ประชุม ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่ต้องให้มีการประชุมเดือนละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย

ให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการ หรือเลขานุการ เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ ในกรณีที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องที่สำคัญอื่นๆ ของสหกรณ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบด้วยทุกคราว

ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการต้องมีกรรมการดำเนินการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดำเนินการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ 96. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ     คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) พิจารณาในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์ ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์

(2) พิจารณาดำเนินการในเรื่องผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของสมาชิก  หรือที่ซื้อจากสหกรณ์อื่น   หรือบุคคลอื่นเพื่อจำหน่าย

(3) พิจารณาดำเนินการเรื่องการจัดซื้อสิ่งของที่บรรดาสมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย

(4) วางข้อกำหนดและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับที่ดินและค่าเช่า การเช่าซื้อ หรือผ่อนชำระ และการให้บริการต่าง ๆ รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าบริการอื่น ๆ ที่สมาชิกจะต้องชำระ

(5) พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่ขออนุมัติงดเว้นค่าบำรุงที่ดิน ค่าเช่า ค่าบริการ และอื่นๆ ตามระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์

(6) พิจารณาดำเนินการเรื่องการจัดให้มีเครื่องมือ เครื่องจักรกล ปศุสัตว์เกี่ยวกับการผลิตหรือโรงงานอุตสาหกรรม

(7) พิจารณาเรื่องกิจกรรมกลุ่ม รวมกันผลิต รวมกันซื้อ รวมกันขาย สะสมเงินกองกลางของกลุ่ม และรวมกันแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันของบรรดาสมาชิก

(8) พิจารณาในเรื่องการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงิน การให้เงินกู้ และการฝากหรือลงทุนเงินของ

สหกรณ์

(9) กำหนดและดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมใหญ่   และเสนองบดุลกับรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่

(10) เสนอแนะการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่

(11) เสนอแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ

(12) พิจารณามอบอำนาจในการดำเนินงานให้แก่กรรมการดำเนินการ ผู้จัดการและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

(13) พิจารณากำหนดตัวเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้จัดการ

(14) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้ง หรือจ้าง และกำหนดค่าตอบแทนของผู้จัดการตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จัดการให้เป็นการถูกต้อง

(15) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้ง และกำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ตรวจสอบภายใน

(16) กำหนดระเบียบต่าง ๆ ของสหกรณ์

(17) จัดให้มีและดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียน สมุดบัญชีเอกสารต่างๆและบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์

(18) พิจารณาให้สหกรณ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกและออกจากชุมนุมสหกรณ์ และองค์การอื่น

(19) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์

(20) พิเคราะห์และปฏิบัติตามหนังสือของนายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย

(21) พิจารณาให้ความเที่ยงธรรมแก่บรรดาสมาชิก เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ตลอดจนสอดส่องดูแลโดยทั่วไป เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไปด้วยดี

(22) พิจารณารายงานของคณะกรรมการอื่น ผู้ตรวจสอบกิจการ ความเห็นของผู้จัดการ และสมาชิกเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์

(23) เชิญสมาชิก หรือบุคคลภายนอกที่เห็นสมควร เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการดำเนินการตลอดจนกำหนดค่าตอบแทนให้ตามที่เห็นสมควร

(24) ฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือประนีประนอมยอมความ หรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด

(25) พิจารณาดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ดังระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

(26) พิจารณาแต่งตั้งกรรมการดำเนินการเป็นผู้แทนสหกรณ์ เพื่อเข้าประชุมใหญ่และออกเสียงในการประชุมใหญ่ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ และองค์การอื่น ซึ่งสหกรณ์นี้เป็นสมาชิก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่ข้อบังคับของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  ชุมนุมสหกรณ์ และองค์การนั้นกำหนดไว้

                           (27) พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้แก่ประธานกรรมการ      รองประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก ผู้จัดการและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสม

ข้อ 97. ความรับผิดของคณะกรรมการดำเนินการ ในกรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ  หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจนทำให้เสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก อันเป็นเหตุให้สหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการ หรือฐานะการเงินตามรายงานการสอบบัญชี   หรือรายงานการตรวจสอบ   เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย    คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์

คณะกรรมการอื่น

ข้อ 98. คณะกรรมการอำนวยการ  คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการอำนวยการ จำนวน 5 คน โดยให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการของคณะกรรมการดำเนินการ เป็นกรรมการอำนวยการและให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการอื่นเป็นกรรมการร่วมอีกตามสมควร

ให้ประธานกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ   เป็นประธานและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการตามลำดับ

คณะกรรมการอำนวยการให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ     ซึ่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการนั้น

ให้คณะกรรมการอำนวยการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย   และให้ประธานกรรมการอำนวยการ   หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้

ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ต้องมีกรรมการอำนวยการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการอำนวยการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ

ข้อ 99. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ   ให้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของ สหกรณ์ ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) ควบคุมในเรื่องการรับเงิน การจ่ายเงิน การสะสมเงินการฝาก หรือการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์

(2) ควบคุมการจัดทำบัญชี และทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

(3) ควบคุมดูแล เก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย และพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที

(4) เสนอแนะคณะกรรมการดำเนินการในการปรับปรุง หรือแก้ไขการบริหารงานของสหกรณ์

(5) ควบคุมดูแลการจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน   และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ

(6) พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์    เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติ

(7) พิจารณาแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์   เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา และเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติ

(8) ทำนิติกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ

มอบหมาย

ข้อ 100. คณะกรรมการเงินกู้ คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการเงินกู้ จำนวน 5 คน โดยให้มีตำแหน่งประธานกรรมการคนหนึ่งและเลขานุการคนหนึ่ง   นอกนั้นเป็นกรรมการ

คณะกรรมการเงินกู้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับกำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ      ซึ่งตั้งคณะกรรมการเงินกู้นั้น

ให้คณะกรรมการเงินกู้ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย และให้ประธานกรรมการเงินกู้   หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้

ในการประชุมคณะกรรมการเงินกู้ ต้องมีกรรมการเงินกู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเงินกู้ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมคราว ถัดไป

ข้อ 101. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเงินกู้  ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยอนุมัติการให้เงินกู้แก่สมาชิกตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ รวมทั้งข้อต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น

(2) ตรวจสอบการควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์   และเมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องก็ต้องกำหนดให้ผู้กู้จัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่กำหนด

(3) ดูแลและติดตามการชำระหนี้ของสมาชิกผู้กู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา

(4) สอบสวนเบื้องต้นให้ได้ข้อความจริง ในกรณีสมาชิกผู้กู้ขอผ่อนเวลาการส่งชำระหนี้เงินกู้หรือผิดนัดการส่งชำระหนี้ เพื่อเสนอความเห็นให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผันหรือเรียกคืนเงินกู้  หรือสอบสวนลงโทษให้สมาชิกออกจากสหกรณ์

ข้อ 102. คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์       คณะกรรมการดำเนินการอาจตั้งคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 คน โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และเลขานุการคนหนึ่ง   นอกนั้นเป็นกรรมการ

คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าที่กำหนดเวลาของคณะกรรมการดำเนินการ ซึ่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์นั้น

ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่ต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย   และให้ประธานกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้

ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมดำเนินการทราบ ในการประชุมคราวถัดไป

ข้อ 103. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก  โดยให้การศึกษาและอบรมแก่สมาชิก   และผู้ที่สนใจให้ทราบถึงเจตนารมณ์ หลักวิธีการและการบริหารงานของสหกรณ์

(2) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับลักษณะ ประโยชน์ รวมทั้งผลงานของ

สหกรณ์ให้สมาชิกและบุคคลภายนอกรับทราบ

(3) ดำเนินการในการหาผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก

(4) ให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่แก่สมาชิกถึงวิธีการออมทรัพย์ และการใช้จ่ายเงินอย่างรอบ คอบตลอดจนวิชาการต่าง ๆ   อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ

(5) ศึกษาและติดตามข่าวความเคลื่อนไหวด้านการดำเนินงานของสหกรณ์อื่น     ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำตัวอย่างที่ดีมาเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณานำมาบริการแก่สมาชิกตามความเหมาะสม

ข้อ 104. คณะอนุกรรมการ   ในกรณีจำเป็นแก่การดำเนินงาน คณะกรรมการดำเนินการอาจมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการต่าง ๆ เพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจของสหกรณ์   โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

ประธานในที่ประชุม

ข้อ 105. ประธานในที่ประชุม       ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ก็ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม และถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมด้วย ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการดำเนินการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น

ในการประชุมคณะกรรมการอื่นๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการเงินกู้ คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ให้ประธานของคณะกรรมการนั้นๆ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น

ในการประชุมกลุ่ม   ให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่ม (ถ้ามี) เป็นประธานในที่ประชุมตามลำดับ แต่ถ้าประธานกลุ่มหรือเลขานุการกลุ่มไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้ที่ประชุมเลือกสมาชิกซึ่งเข้าประชุมคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานใน ที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น

ในการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกร้องขอให้เรียกประชุม     ในกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติถอดถอนกรรมการดำเนินการ ถ้ามีการร้องขอให้เปลี่ยนตัวประธานในที่ประชุมก็ให้กระทำได้โดยเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะคราวนั้น   หรือจนเสร็จการประชุม   มติเลือกประธานในที่ประชุมในกรณีนี้ ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม

การออกเสียงและการวินิจฉัยปัญหาในที่ประชุม

ข้อ 106. การออกเสียง    สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนออกเสียงใน ที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมกลุ่มสุดแต่กรณีได้เพียงคนละหนึ่งเสียง จะมอบให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงแทนตนไม่ได้

ถ้าในปัญหาซึ่งที่ประชุมวินิจฉัยนั้น ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเฉพาะตัว ผู้นั้นจะออกเสียงในเรื่องนั้นไม่ได้

ข้อ 107. การวินิจฉัยปัญหา เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นพิเศษในข้อบังคับนี้ การวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  หรือที่ประชุมคณะกรรมการอื่นๆ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม

(1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

(2) การเลิกสหกรณ์

(3) การควบสหกรณ์

(4) การแยกสหกรณ์

รายงานการประชุม

ข้อ 108. รายงานการประชุม ในการประชุมใหญ่ การประชุมกลุ่ม การประชุมคณะกรรมการดำเนินการ หรือการประชุมคณะกรรมการอื่นๆ นั้น ต้องจัดให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อพร้อมทั้งบันทึกเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยทั้งสิ้นไว้ในรายงานการประชุม และให้ประธานในที่ประชุมกับกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่นๆ แล้วแต่กรณี อีกคนหนึ่งที่เข้าประชุมนั้นๆ ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

หมวดที่ 9

ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์

ข้อ 109. การจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ   คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถและความเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งหรือจ้างเป็นผู้จัดการของสหกรณ์ โดยต้องไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 89 (3) , (4) , (5) และ (6) ในการจ้างผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำหนังสือสัญญาจ้างไว้เป็นหลักฐาน และให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกให้มีหลักประกันอันสมควร

ในการแต่งตั้ง หรือจ้างผู้จัดการ    ต้องให้ผู้จัดการรับทราบและรับรองที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกำหนดไว้ใน ข้อ 111 เป็นลายลักษณ์อักษร

ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบของสหกรณ์เกี่ยวกับการคัดเลือก หรือสอบคัดเลือกการแต่งตั้งหรือจ้าง การกำหนดอัตราเงินเดือน การให้สวัสดิการและการให้ออกจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์

ข้อ 110. การดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์   สหกรณ์อาจจ้างผู้จัดการสหกรณ์ โดยกำหนดระยะเวลาหรือไม่กำหนดระยะเวลาก็ได้

ข้อ 111. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ     ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทั่วไปและรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดากิจการประจำของสหกรณ์   รวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นการถูกต้อง    ตลอดจนเป็นธุระจัดให้ผู้เข้าเป็นสมาชิกลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกและชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับค่าหุ้นตามข้อบังคับของสหกรณ์

(2) ควบคุมให้มีการเก็บเงินค่าหุ้น แจ้งยอดจำนวนหุ้น   จ่ายคืนค่าหุ้นและชักชวนการถือหุ้นในสหกรณ์

(3) รับฝากเงิน จ่ายคืนเงินฝาก และส่งเสริมการรับฝากเงินของสหกรณ์

(4) เป็นธุระในการตรวจสอบคำขอกู้ จ่ายเงินกู้ จัดทำเอกสารเกี่ยวกับเงินกู้ให้เป็นไปตามแบบและระเบียบของสหกรณ์

(5) จัดทำรายละเอียดของสมาชิกรายตัวเกี่ยวกับเงินค่าหุ้นและเงินให้กู้ทุกหกเดือน  พร้อมกับแจ้งให้สมาชิกทราบเป็นรายบุคคล

(6) พิจารณาจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์รวม ถึงกำหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติงานของบรรดาเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย

(7) เป็นธุระกวดขันในเรื่องการออกใบรับ เรียกใบรับ   หรือจัดให้มีใบสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขาย และการทำธุรกิจต่างๆ ของสหกรณ์ รับผิดชอบในการรับจ่ายเงินของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้อง รวบรวมใบสำคัญและเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเงินไว้โดยครบถ้วน และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์

(8) รับผิดขอบและดูแลในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

(9) ติดต่อประสานงานกับเลขานุการในการนัดเรียกประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   และประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ

(10) รับผิดชอบจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ

(11) จัดทำแผนงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา

(12) จัดทำแผนปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่

(13) เข้าร่วมประชุมและชี้แจงในการประชุมใหญ่ ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และประชุมคณะกรรมการอื่นๆ เว้นแต่กรณีซึ่งที่ประชุมนั้นๆ มิให้เข้าร่วมประชุม

(14) ปฏิบัติการเกี่ยวกับงานสารบรรณของสหกรณ์

(15) รักษาดวงตราของสหกรณ์ และรับผิดชอบตรวจตราดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ของสหกรณ์ ตลอดจนผลิตผล ผลิตภัณฑ์ และสินค้าอื่น ๆ ของสหกรณ์ ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย

(16) เสนอรายงานกิจการประจำเดือนของสหกรณ์ต่อคณะกรรมการดำเนินการ

(17) รักษาเงินสดของสหกรณ์ ภายในจำนวนที่คณะกรรมการดำเนินการอนุญาตให้สำรองไว้ใช้จ่ายในกิจการของสหกรณ์ และจัดการส่งเงินของสหกรณ์ นอกจากจำนวนดังกล่าวนั้นเข้าฝากตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

(18) สำรวจผลิตผล และสินค้าอื่นๆ ในตลาดต่างๆ เพื่อเป็นหลักในการพิจารณาดำเนินกิจการของสหกรณ์กับแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการ     และสมาชิกทราบความเคลื่อนไหวของราคาผลิตผลและสินค้า       นั้นๆ ด้วย

(19) ดูแลที่ดิน สำนักงาน อาคาร อุปกรณ์ และทรัพย์สินอื่น ๆ ของสหกรณ์

(20) รับผิดชอบตรวจสอบการรับจ่ายเงินทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นการถูกต้องตลอดจนรวบรวมใบสำคัญ   และเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินของสหกรณ์ไว้โดยครบถ้วน

(21) เป็นธุระในการส่งเสริมเผยแพร่วิชาการเกษตร การผลิตทางอุตสาหกรรมหรือการประกอบอาชีพในหมู่สมาชิก การจัดทำงบสินทรัพย์และหนี้สิน งบรายได้และค่าใช้จ่ายกับทะเบียนเกษตรกรรมอื่นๆ สำหรับสมาชิก การศึกษาอบรมทางสหกรณ์และทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในหมู่สมาชิกตลอดจนการชักจูงการฝากเงินในสหกรณ์

(22) เสนอรายการหรือรายงานของสหกรณ์ต่อทางราชการ ตามแบบและระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด

(23) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการ   หรือคณะกรรมการอื่นๆ ของสหกรณ์มอบหมาย หรือตามที่ควรกระทำ เพื่อให้กิจการในหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี

ข้อ 112. การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ    ผู้จัดการของสหกรณ์ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) ตาย

(2) ลาออกโดยแสดงความจำนงทำเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ

(3) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของสหกรณ์ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายสหกรณ์กำหนด

(4) อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือครบกำหนดตามสัญญาจ้าง

(5) ถูกเลิกจ้าง

(6) ถูกลงโทษให้ออกหรือไล่ออก หรือมีพฤติกรรมอันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าได้กระทำการ หรือละเว้นการกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์

ข้อ 113. การลาออก   ให้ผู้จัดการสหกรณ์ยื่นหนังสือถึงสหกรณ์ก่อนวันที่จะออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันและให้เลขานุการคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พิจารณาการ ลาออกนั้น   การยับยั้งการลาออกของผู้จัดการสหกรณ์กระทำได้ไม่เกินหกสิบวัน

ข้อ 114. การมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการ     ถ้าสหกรณ์ยังมิได้มีการจัดจ้างและแต่งตั้งผู้จัดการ หรือสหกรณ์ไม่อยู่ในฐานะจะจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในตำแหน่งอื่นด้วยได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้จัดการให้กรรมการดำเนินการคนใดคนหนึ่งตามที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน 5 ปี    

ข้อ 115. การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้จัดการ    ถ้าตำแหน่งผู้จัดการว่างลงและยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งแทนหรือเมื่อผู้จัดการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้รองผู้จัดการ     หรือผู้ช่วย   ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายเป็นผู้รักษาการแทน

ข้อ 116. การเปลี่ยนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้จัดการให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน ผลิตผลและสินค้าอื่นๆ  กับบรรดาทรัพย์สินและหนี้สิน   ตลอดจนจัดทำงบดุลของสหกรณ์เพื่อทราบฐานะอันแท้จริงก่อนที่จะส่งมอบงาน

ข้อ 117. เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ นอกจากตำแหน่งผู้จัดการแล้ว สหกรณ์อาจจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อื่น โดยต้องไม่เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 89 (3), (4), (5) และ (6) ตามความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานในสหกรณ์ ทั้งนี้ ตามระเบียบของสหกรณ์ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการกำหนด

ที่ปรึกษา

ข้อ 118. ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์       คณะกรรมการดำเนินการอาจเชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกซึ่งทรงคุณวุฒิมีความรู้ความสามารถและเหมาะสมเป็นที่ปรึกษา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้จำนวนไม่เกิน     ห้าคน เพื่อให้ความเห็นแนะนำในการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สหกรณ์กำหนด

ผู้ตรวจสอบกิจการ

ข้อ 119. ผู้ตรวจสอบกิจการ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกหรือบุคคลภายนอก   ผู้มีคุณวุฒิ   ความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน การบัญชี การเศรษฐกิจหรือการสหกรณ์ เป็นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์เป็นการประจำปี จำนวน 1 คน

ที่ประชุมใหญ่จะเลือกตั้งกรรมการดำเนินการหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหน้าที่ประจำในสหกรณ์เป็นผู้ตรวจสอบกิจการไม่ได้

ข้อ 120. การดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการอยู่ในตำแหน่งได้มีกำหนดเวลาหนึ่งปีทางบัญชีสหกรณ์ถ้าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่มีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการคนใหม่ก็ให้ผู้ตรวจสอบกิจการคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน

ผู้ตรวจสอบกิจการที่ออกไปแล้ว   อาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ

ข้อ 121. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งปวงของสหกรณ์   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้คือ

(1) ตรวจสอบเอกสาร สรรพสมุด บัญชี ทะเบียนและการเงินตลอดจนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งปวงของสหกรณ์ เพื่อทราบฐานะและข้อเท็จจริงของสหกรณ์ที่เป็นอยู่จริง

(2) ตรวจสอบหลักฐาน และความถูกต้องของการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภทของสหกรณ์ เพื่อประเมินผลและอาจให้ข้อแนะนำแก่คณะกรรมการดำเนินการ   ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติในกิจการนั้นๆ

(3) ตรวจสอบการจัดจ้างและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ตลอดจนหนังสือสัญญาจ้าง และหลักประกัน

(4) ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ สหกรณ์

(5) ติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพิจารณาหาทางปรับปรุงแผนงาน ข้อบังคับ ระเบียบ มติตลอดจนคำสั่งต่าง ๆ ของสหกรณ์

(6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติ และคำสั่งของสหกรณ์  หรือกิจการอื่น ๆ   เพื่อให้เกิดผลดีแก่การดำเนินกิจการของสหกรณ์

         ให้ผู้ตรวจสอบกิจการเสนอรายงานผลการตรวจสอบประจำเดือนต่อคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมประจำเดือนคราวถัดไป   แล้วเสนอผลการตรวจสอบประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ด้วย

หากพบข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ  ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขโดยมิชักช้า ผู้ตรวจสอบกิจการอาจเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องนั้นด้วยก็ได้

ข้อ 122. ความรับผิดของผู้ตรวจสอบกิจการ   หากผู้ตรวจสอบกิจการตรวจพบข้อบกพร่องของสหกรณ์ ต้องแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ทราบเพื่อแก้ไขโดยเร็ว   ผู้ตรวจสอบกิจการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่า เสียหายอันจะเกิดแก่สหกรณ์ด้วยเหตุอันไม่แจ้งนั้น

หมวดที่ 10

การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

ข้อ 123. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

(1) ต้องกำหนดในระเบียบวาระการประชุมใหญ่เป็นเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ   และให้แจ้งไปยังสมาชิกพร้อมหนังสือแจ้งระเบียบวาระการประชุมใหญ่

(2) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะเสนอวาระแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับได้ เมื่อมีการพิจารณาเรื่องที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งมีกรรมการดำเนินการมาประชุมเต็มจำนวนของคณะกรรมการดำเนินการที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยมติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนั้นให้ถือเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการดำเนินการที่มาประชุมซึ่งลงลายมือชื่อเข้าประชุม แต่ถ้าสมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคนลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการ ก่อนการประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับก็ย่อมทำได้   โดยต้องระบุข้อความที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้น พร้อมด้วยเหตุผล

(3) การพิจารณาวาระการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ  ให้กระทำได้แต่เฉพาะในการประชุมใหญ่     ที่มีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก หรือของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน   แล้วแต่กรณี

(4) ข้อความใดที่ที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว หากปรากฏภายหลังว่าข้อความนั้นขัดหรือแย้งกับกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย  นายทะเบียน สหกรณ์อาจแก้ไขข้อความนั้น   แล้วรับจดทะเบียนสหกรณ์

(5) ข้อบังคับที่นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์แล้ว  หากยังไม่ได้กำหนดระเบียบ หรือคำสั่งให้สอดคล้องกัน ก็ให้นำความที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้วนั้นมาบังคับใช้ และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ

หมวดที่ 11

ข้อเบ็ดเสร็จ

ระเบียบของสหกรณ์

         ข้อ 124. ระเบียบของสหกรณ์ ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจกำหนดระเบียบต่างๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับนี้ และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของสหกรณ์รวมทั้งในข้อต่อไปนี้

(1) ระเบียบว่าด้วยการรับเงินฝากจากสมาชิกสหกรณ์

(2) ระเบียบว่าด้วยการรับเงินฝากจากสหกรณ์อื่น

(3) ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์

(4) ระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่น

(5) ระเบียบว่าด้วยกลุ่มสมาชิก

(6) ระเบียบว่าด้วยการรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน

         (7) ระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์

(8) ระเบียบว่าด้วยการใช้ทุนเพื่อสาธารณประโยชน์

(9) ระเบียบว่าด้วยที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

(10) ระเบียบอื่น ๆ ที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรกำหนดไว้ให้มี เพื่อสะดวกและเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของสหกรณ์

เฉพาะระเบียบในข้อ (1) , (2) และ (4) ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ก่อนจึงจะใช้บังคับได้ ส่วนระเบียบอื่นเมื่อคณะกรรมการดำเนินการกำหนดใช้แล้วให้ส่งสำเนาให้นายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์   และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทราบ

ข้อ 125. การดำเนินคดีเกี่ยวกับความเสียหาย   ในกรณีที่ทรัพย์สินของสหกรณ์ถูกยักยอกหรือเสียหายโดยประการใดๆ ก็ดี หรือในกรณีที่สหกรณ์เรียกคืนเงินกู้ตามข้อ 124 (3) และ (4) แต่มิได้รับชำระตามเรียกก็ดี     คณะกรรมการดำเนินการต้องร้องทุกข์   หรือฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ

ข้อ 126. การตีความในข้อบังคับ   ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในข้อบังคับข้อใด ให้สหกรณ์เสนอปัญหานั้นต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อขอคำวินิจฉัย   และให้สหกรณ์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้น

ข้อ 127. ทรัพย์สินของสหกรณ์ การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของสหกรณ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการเป็นเอกฉันท์   และต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ด้วย

การลงมติเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ตามความในวรรคแรก ให้ถือเสียงข้างมากของสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมาประชุม

ข้อ 128. การจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อสหกรณ์ต้องเลิก เมื่อสหกรณ์ต้องเลิกและได้จัดการชำระบัญชีโดยจำหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์   ตลอดทั้งจ่ายคืนเงินรับฝากพร้อมด้วยดอกเบี้ยและชำระหนี้สิน อื่นๆ ของสหกรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าสหกรณ์มีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้ผู้ชำระบัญชีจ่ายตามลำดับดังต่อไปนี้

(1) จ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่สมาชิกไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว

(2) จ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว   แต่ต้องไม่เกินอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

(3) จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืน ตามข้อ 44 (2)

เงินที่จ่ายตามข้อ (2) และ (3) เมื่อรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินยอดรวมแห่งจำนวนเงินกำไรสุทธิที่สหกรณ์หาได้

ในระหว่างปีที่เลิกสหกรณ์กับทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลที่ถอนไปตาม ข้อ 44 (4) ในปีนั้น

ถ้ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกให้โอนให้แก่สหกรณ์อื่น หรือสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามมติของที่ประชุมใหญ่ หรือด้วยความเห็นชอบของนายทะเบียนสหกรณ์ ในกรณีที่ไม่อาจเรียกประชุมใหญ่ได้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ชำระบัญชีเสร็จ

ข้อ 129. ในกรณีที่ข้อบังคับนี้มิได้กำหนดข้อความเรื่องใดไว้   ให้สหกรณ์รับบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์   ตลอดจนคำสั่งหรือคำแนะนำและระเบียบปฏิบัติของนายทะเบียนสหกรณ์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งแห่งข้อบังคับนี้ด้วย

บทเฉพาะกาล

ข้อ 130. นับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ระเบียบใดซึ่งสหกรณ์ถือใช้อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ถือใช้และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ถือตามระเบียบนั้นไปก่อน จนกว่าจะได้กำหนดระเบียบขึ้นถือใช้ใหม่

     *   ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์การเช่าที่ดินชัยบาดาล จำกัด ได้ประชุมพิจารณาข้อบังคับข้างต้นนี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ถือใช้เป็นข้อบังคับของสหกรณ์ได้

                             ลงชื่อ………………………ประธานกรรมการ

                                           (นายสำรวย   บุญเมือง)

         ลงชื่อ......................................เลขานุการ                                                        

                 (นายประเสริฐ บุญธรรม)

            เจ้าหน้าที่ส่งเสริมผู้เข้าร่วมประชุม

                               ลงชื่อ...........................................ตำแหน่ง ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์ชัยบาดาล

                                (นางสาวขนิษฐา พรหมสมัคร)

                              ลงชื่อ..........................................ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานส่งเสริมสหกรณ์ 7

                                (นายศักดิ์ชัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

เหตุผล ที่ต้องยกเลิกข้อบังคับเดิมและใช้ข้อบังคับฉบับนี้แทน

         เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542

บันทึกสหกรณ์จังหวัดลพบุรี

          ข้าพเจ้า นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ ตำแหน่งสหกรณ์จังหวัดลพบุรี   ตรวจสอบข้อบังคับนี้แล้วมีข้อความครบถ้วนตามมติของที่ประชุมใหญ่ และไม่ขัดกับกฎหมายสหกรณ์ ระเบียบคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์

                                                          ลงชื่อ..........................................

                                                                  (นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์)

                                                             ตำแหน่ง   สหกรณ์จังหวัดลพบุรี