เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ อ.พบพระ จ.ตาก  นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยหลังลงพื้นที่ติดตามปัญหากลุ่มสมาชิกสหกรณ์ผลิตกล้วยหอมทอง ประสบปัญหาราคาตกต่ำ ว่า ขณะนี้สมาชิกสหกรณ์กว่า 10 ราย ยังหาตลาดส่งออกไม่ได้ รวมทั้งคุณภาพไม่ตรงตามเกรดมาตรฐานในราคา 12 บาทต่อกก. ซึ่งทางบริษัทประชารัฐ จ.ตาก ได้รับไปส่งตลาดภายในประเทศ ในราคากดเกรดต่ำกว่าลงมา 6-7 บาทต่อกก. จากต้นทุนผลิต 7 บาทต่อกก. ทั้งนี้ได้สั่งสหกรณ์พบพระ เร่งแก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตกรกลุ่มนี้ จัดหาตลาดให้ และให้สหกรณ์ที่เข้มแข็งเป็นพี่เลี้ยง เช่น สหกรณ์บ้านลาด สหกรณ์ท่ายาง จ.เพชรบุรี ที่มีตลาดส่งออกกล้วยหอม ไปประเทศญี่ปุ่น ช่วยในการวางระบบการส่งออก การดำเนินการก่อนและหลังเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ตรงตามมาตรฐานคุณภาพ

ด้านนายวิเชียร จังก๋า ประธานสหกรณ์การเกษตรพบพระ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้เป็นปัญหาหนัก เพราะผลผลิตกล้วยหอมทอง 20 ตันต่อสัปดาห์ ที่บริษัทประชารัฐไม่สามารถดันไปต่างประเทศ ตนได้ทำหนังสือผู้ว่าราชการ จ.ตาก ในฐานะ ประธานบริษัทประชารัฐ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และบริษัททีเค(ประชารัฐ)เข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างเร่งด่วนกระจายผลผลิต รวมทั้งราคากล้วยตกต่ำทั่วประเทศ 

นางสริตา ปิ่นมณี นักวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)กระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่าจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ในรัชกาลที่9 ทรงห่วงใย วิถีชาวบ้านปลูกต้นกัญชง อยู่แล้วเพื่อมาทอทำเครื่องนุ่งห่ม จะโดนจับ โดยลำดับแรกมีการอนุญาต การใช้เส้นใย เปลือกแห้ง แกนแห้ง ลำต้นแห้ง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยคุมเรื่องเมล็ดพันธุ์ให้มีสารเสพติดต่ำกว่า1% เพื่อให้ได้พันธุ์คงที่มีสารเสพติด 0.3 % คุมพื้นที่ปลูก ซี่งกระทรวงสาธารณสุข อนุญาต 5 พื้นที่นำร่อง เช่นเชียงใหม่  เชียงราย ตาก น่าน เพชรบูรณ์ เป็นโมเดลปลูกกัญชง  ถ้า 3ปีไม่มีปัญหา ขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ 

นางสริตา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้วิจัยกลุ่มแรกเส้นใย ใช้ประโยชน์สองแนวทาง ชาวม้ง ใช้ทำเสื้อผ้า แผนระยะสองปรับสู่อุตสาหกรรม ส่งไปยุโรป จีน ส่วนแกนลำต้น คุณสมบัติเบา แข็งแรง ช่วยดูดซัพสารพิษ  ส่วนยอดต้น มีสารซีบีดี สกัดทำเป็นยารักษาโรค ช่วยสมานแผล โรคอัลไซสเมอร์ พาร์คินสัน และเมล็ด ไปสู่อุตสาหรรรมระบบใหญ่มาก เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการดี มีน้ำมัน 25-30% มีโอเมก้า3-6 เป็นสัดส่วนเหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ น้ำมันปรุงอาหาร ใส่สลัด ทำนมจากเมล็ดกัญชง โดยสภาพัฒน์ฯกำลังให้กระทรวงอุตสาหกรรม เขียนแผนเดินหน้าเรื่องเฮมพ์ ระยะที่สอง เนื่องจากรายได้ต่อไร่สูงกว่าการปลูกข้าวโพด 5-6 เท่า หากปลูกเฮมพ์ 1ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม3.5-5.2 พันบาท ต่อไร่ โดยการปลูกเฮมพ์ที่เหมาะสมเกษตรกร1คนปลูกเพียงไม่เกิน5ไร่ จะมีรายได้ 1-1.25 แสนบาท สามารถใช้แรงงานในครัวเรือนไม่ต้องจ้างแรงงาน