พิมพ์

 

พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (ประสูติ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาต่างพระมารดา คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ได้รับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1]และได้รับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[2]

พระประวัติ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ[3][4] ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[5] และเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

การศึกษา

พระกรณียกิจ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสาธารณกุศลผ่านมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และด้านกฎหมายซึ่งทรงมีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณในการเสด็จแทนพระองค์อยู่โดยเสมอมา เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงร่วมงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ และทรงเป็นผู้เชิญธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มากไปกว่านั้น ทรงเข้าทำงานที่คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาตินครนิวยอร์ก

ด้านกฎหมาย

ด้านการศึกษา

เป็นอาจารย์พิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[22]

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เริ่มต้นจากการดำเนิน โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่มีอุทกภัยครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2538 และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนภาคราชการและองค์กรการกุศลที่มีอยู่มิอาจให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง จนเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชนอันเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากการป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัด ผู้ที่เดือนร้อนจึงรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องได้รับความเดือดร้อนเฉพาะชาวพื้นที่ของตนเอง ขณะที่พื้นที่ติดกันได้รับความสะดวกสบายอย่างเป็นปกติ

ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงออกปฏิบัติภารกิจในโครงการฯ เป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกรับน้ำใจจากผู้ไม่ประสบอุทกภัยที่สถานีบริการน้ำมัน ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เสด็จพระดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 34 เขตบางกอกน้อย ซอยจรัญสนิทวงศ์ 82, 84 และ 86 เขตบางพลัด

การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนี้ส่งผลให้เหตุการณ์สงบลง จากนั้นมาโครงการฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และได้พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดให้ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร เป็นผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพ 3,000 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ[23]

โครงการกำลังใจ ในพระดำริ

ทรงก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักศึกษากฎหมาย โดยครั้งแรก เสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยความสนพระทัยในสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง

โครงการนี้ได้ขยายความช่วยเหลือไปยังเด็กที่ติดท้องแม่ก่อนเข้าจำคุก รวมทั้งผู้ต้องขังหญิงสูงอายุ และเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงได้กระจายไปทั่วโลก ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอและยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำต่อสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ภายใต้ชื่อ “Enhancing Life for Female Inmates: ELFI”

มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริ

เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นด้วยพระประสงค์ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยประทานพระกรุณารับเป็นองค์ประธานมูลนิธิ เพื่อดำเนินกิจการตามพระดำริด้านสาธารณกุศลในการให้โอกาส การเป็นตัวกลางในการแสวงหาโอกาส และการพัฒนาชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอดีตผู้ต้องขังและผู้ต้องขัง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการให้โอกาส มูลนิธิ ณภาฯ จึงได้ดำเนินการตามพระดำริดังกล่าว เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิ ณภาฯ ในปัจจุบัน ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปโภคตรา "จัน" และ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบริโภคตรา "ธรา" โดยมูลนิธิ ณภาฯ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเผยแพร่และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นทุนในการสนับสนุนงานของมูลนิธิต่อไป

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
Female Royalty's Standard of Thailand.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
Royal Cypher of Princess Bajrakitiyabha.svg
ตราประจำพระองค์
Royal Flag of Princess Bajrakitiyabha-2019.svg
ธงประจำพระองค์
การทูล ใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตน ข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับ พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
ลำดับโปเจียม 8

พระอิสริยยศ

เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศทางทหาร

พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
รับใช้ กองทัพบกไทย
ประจำการ พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน
ชั้นยศ RTA OF-8 (Lieutenant General).svg พลโทหญิง

พระเกียรติคุณ

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการรางวัลสัญญาธรรมศักดิ์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายรางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544 เป็นกรณีพิเศษแด่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ด้วยทรงเป็นตัวอย่างในด้านการศึกษาและด้านกิจกรรมนักศึกษา โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นนักศึกษาทั่วไปทั้งในด้านการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ

หน่วยงาน UNODC (ยูเอ็นโอดีซี) สหประชาชาติ จากทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติหลายอย่างเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนพัชรกิติยาภา เพื่อการศึกษากฎหมาย การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการกำลังใจ ในพระดำริฯ โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือ ELFI (เอลฟี)การทรงงานด้านกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ จึงพิจารณาทูลเกล้าถวายรางวัลกียรติยศสูงสุดจากสหประชาชาติ

ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระองค์ประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและเด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง[39]

ปริญญากิตติมศักดิ์

สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม

การแพทย์และสาธารณสุข

สถาบันการศึกษา

ศาสนสถาน

ศาสนวัตถุ

อื่นๆ

พงศาวลี