แผนผังศูนย์เรียนรู้การสหกรณ์

 



 การบริหารจัดการ   เปํนปัจจัยสำคัญยิ่งในการในการนำพาสหกรณ์ไปในทิศทางที่จะบรรสุตามวัตถุประสงค์ ที่ได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของสหกรณ์

ผู้นำของสหกรณ์   ตลอดระยะเวลา กว่า 35 ปี สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด  มีคณะกรรมการดำเนินงาน  ที่มีความเสียสละ  มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพของสมาชิกในทุก ๆ ด้าน  ทั้งด้านการผลิต  การตลาด  และการเงิน  โดยมุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  

ที่มาของผู้นำสหกรณ์   สหกรณ์  มีการระดมความคิดเห็นจากสมาชิกเพื่อการปรับปรุงพัฒนาการบริหารงาน และเห็นว่า  วิธีการที่จะพัฒนาสหกรณ์ให้สอดคล้องไปตามความต้องการของสมาชิกได้  สมาชิกต้องได้ัรับข้อมลข่าวสารที่ชัดเจน และรวดเร็ว  ทั้งยังสามารถส่งผ่านข้อิดเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ กลับมายังสหกรณ์ได้โดยตรง  จึงดำเนินการดังนี้

            1)   แบ่งสมาชิกออกเป็น  7 กลุ่ม ตามสัดส่วนแห่งอาชีพ  โดยแต่ละกลุ่ม มีคณะกรรมการบริหารกลุ่ม   มีการประชุมไม่น้อยกว่า ปีละ 3 ครั้ง  และแต่งตั้งผู้แทน 2 คนเป็นกรรมการดำเนินการของสหกรณ์

            2)   จัดพิมพ์วารสาร ถึงสมาชิก 2 เดือน/ฉบับ เพื่อรายงานความเคลื่อนไหว และสาระที่จะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก

             3)   จัดทำเว็บไซด์   และโซเชียล มีเดีย  เพื่อติดต่อกลุ่มสมาชิกที่สนใจ

การศึกษาอบรม    คณะกรรมการดำเนินการ  ผู้ตรวจสอบกิจการ  กรรมการกลุ่ม ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร  จะต้องมีการประชุม 3 ระดับ คือ  การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน   การประชุมชี้แจ้ง สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ ในแต่ละกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบหมาย    และการประชุมจัดทำแผนงานของสหกรณ์  รวมทั้งการศึกษาดูงาน ตามความเหมาะสม

การแบ่งความรับผิดชอบ    เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนศักยภาพในการบริหารงาน   คณะกรรมการแต่ละชุดจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามความถนัด อย่างเหมาะสม และให้มีการถ่ายทอดงานระหว่างกัน  

จากการดำเนินการดังกล่าว  ทำให้ผู้บริหารของสหกรณ์ในแต่ละสมัย  สามารถต่อยอดการบริหารงาได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ  

 

 

 ตลาดปลา  เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าสตว์น้ำของสมาชิกและชาวประมงทั่วไป  แต่กว่าที่จะมาเป็น "ตลาดปลาสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด อย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย  รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้ตลาดปลาแห่งนี้ เป็นของชาวประมงและเพื่อชาวประมงอย่างแท้จริง

ความเป็นมา

ปี 2524   สหกรณ์ ดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก  เพื่อลดปัญหาในการนำปลาไปขายต่างจังหวัด และกำหนดราคาเองไม่ได้  โดยมุ่งหวังที่จะดำเนินธุรกิจให้เป็นทางเลือกหนึ่งของสมาชิก  แต่ดำเนินการได้เพียง 7 เดือนก็ต้องยุติกิจการ  จากนั้นคณะกรรมการก็ได้ศึกษาปัญหา เพื่อคิดหาแนวทางปรับปรุง ให้กิจกานี้ ดำเนินการได้อย่างยั่งยืน
ปี 2530   ผลการวิจัยของสถาบันศศินทร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นสิ่งที่ช่วยให้หลายหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนส่งเสริม  "โครงการสะพานปลา ในจังหวัดสมุทรสงคราม"    โดย นางบุญล้อม  ลิ้ม     ประเสริฐ  เจ้าของคานเรือทวีชัย ได้บริจาคที่ดิน 3 ไร่ เพื่ารบริหารส่วนอองกจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ก่อสร้างอาคารตลาดปลา และสหกรร์ประมงแม่กลอง จำกัด ก็ได้เช่าอาคาดังกล่าวมาดำเนินการ
ปี 2532 วันที่ 5 พฤษภาคม  สหกรณ์จัดพิธีเปิดตลาดปลา โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมพิธี  และดำเนินการให้บริกาตลาดปลาในวันรุ่งขึ้นเป็นต้นมา  ในการนี้ สหกรณ์ได้อนุญาตให้สมาชิกที่มีความสนใจ เข้ามาทำหน้าที่แพปลา  เพื่อเป็นผู้จัดการขขายปลาของสมาชิก  โดยสหกรณ์จัดการอำนวยความสะดวกด้าน ที่จอดรถ  ภาชนะ  สถานที่เก็บของ น้ำแข็ง และห้องสุขา โดยระบบการประมูล
ปี 2538   เดือนตุลาคม  กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ ให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ตลาดปลา เป็น  "ตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม ในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 
ปี 2539 การให้บริการตลาดปลา มีความก้าวหน้ามาก ทำให้สถานที่คับแคบ สหกรณ์ต้องตัดสินใจหาซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างตลาดปลาใหม่ ให้เพียงพอ ซึ่งในการนี้ สหกรณ์ได้สะสมเงินไว้ทุกปี จนมีเงินพอเพียง
ปี 2540 สหกรณ์ก่อสร้างอาคารตลาดปลาแห่งใหม่ โดยการกู้ยืมเงินจากกรมการค้าภายใน  และกรมส่งเสริมสหกรณ์ แห่งละ 10  ล้านบาท  อีกส่วนหน่งก็รับบริจาคจากแพปลา ตามสัดส่วนของพื้นที่เช่าที่มีอยู่เดิม และที่จะได้รับใหม่
ปี 2541

จัดพิธิเปิดตลาดปลาของสหกรร์อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีนายพิชัย  รัตตกุล  รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เป็นประธาน ตลาดปลาแห่งนี้ มีสถานที่กว้างขวาง รองรับรถปลาได้กว่า 100 คัน มีที่จอดรถ และสถานที่ปฏิบัติงานอืนอีกมากมาย มีโรงอาหาร ห้องสุขา และ สำนักงานให้เช่า ทำให้ชาวประมง เข้ามาใช้บริการจำนวนมาก

 ส่วนอาคารเดิม สหกรณ์ก็ยังคงเช่าอยู่ โดยปรับเปลี่ยนเป็นตลาดปลาน้ำจืด ตลาดสด และจำหน่ายอาหารสำหรับคนงาน

ปี 2547

มีการขยายอาคารและพื่้นที่ด้านหลัง  โดยใช้เงินบริจาคสำหรับพื้นที่ขายปลาส่วนที่เพิ่่มขึ้น

มีการจัดตั้งระบบกล้องวงจรปิด   ระบบสุขอนามัย  และระบบการสุ่มตรวจเครื่องชั่ง และ สารฟอร์มาลีน 

ปี 2553 มีการปรับปรุงตลาดปลาเพื่อรองรับการปฏิบัตืตามกฏบัตของสหภาพยุโรป  ในการป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ขาดการควบคุม (IUU Fishing)  
ปี 2555 มีการขยายตลาดปลาอีกครั้งพร้อมกันนี้  ยังมีการสนับสนุน "โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แ บบติดตั้งบนหลังคา"   โดยติดตั้งบนหลังคาอาคารตลาดปลา

    ตลาดปลา   ยังคงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสัตว์น้ำ   และเป็นศูนย์กลางความคิด ในการที่จะพํฒนางานของสหกรณ์ให้สอดคล้อง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการประกอบ

อาชีพ ต่อไป

 

     แสงอาทิตย์   เป็นต้นกำเนิดของวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตในโลก ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและธาตุต่าง ๆ เช่น คาร์บอน พลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน หรือ พลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานน้ำ (จากการทำให้น้ำกลายเป็นไอและลอยตัวขึ้นสูง พลังงานน้ำที่ตกกลับลงมาถูกนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานเคมีในอาหาร (พืชสังเคราะห์แสง เปลี่ยนแร่ธาตุให้เป็นแป้งและน้ำตาล ซึ่งสามารถให้พลังงานแก่มนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ) เป็นต้นกำเนิดของพลังงานลม (ทำให้เกิดความกดอากาศและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ) และเป็นต้นกำเนิด พลังงานคลื่น (ทำให้น้ำขึ้น-ลง)

หลังจากประสบกับปัญหาน้ำมันแพง ใน พ.ศ. 2516 และ 2522 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจึงหันมาให้ความสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์และเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์ข้อมูลโลกร้อนของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีปริมาณเพิ่มขี้น 10-20% ทุกปี ในประเทศไทยการติดตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากเริ่มจากปี 2553 โดยเริ่มมีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2553 มียอดติดตั้งรวม 100.39 MW แจกจ่ายไฟฟ้า(เฉพาะเชื่อมกับสายส่งของ กฟผ แล้ว) ทั้งปี 2553 รวม 21.6 GWh หรือ 0.0134% ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 161,350 GWh โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผลิตไฟฟ้าได้ 2.2 GWh ผู้ผลิตรายย่อย 19.4 GWh[3]