king10

bannernews

 

p2

ถ้าเข้าทำลายข้าวโพดอายุ 1-15 วัน ทำให้ต้นข้าวโพดตายทั้งแปลง เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วันขึ้นไปหนอนที่เริ่มโตจะเข้าไปหลบอาศัยอยู่ในส่วนยอด หลังจากนั้นหนอนจะย้ายเข้าไปอาศัยในดอกตัวผู้และฝักทำให้ยากต่อการป้องกันกำจัด...หากพบระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหาย 73%

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของหนอนกระทู้ ที่สำรวจพบสามารถควบคุมได้หากปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเกษตรกรที่ใช้สารที่ไม่ได้แนะนำ รวมทั้งยังพ่นสารไม่ถูกช่วงเวลาที่หนอนออกจากที่หลบซ่อน ทำให้การกำจัดไม่ได้ผลและเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดเพิ่มมากขึ้น

วิธีการป้องกันกำจัดที่ได้ผลตามหลักวิชาการ...หากพบหนอนขนาดเล็กให้เก็บหนอนทำลายทิ้ง และใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อ BT สายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ ชนิดผง อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด

หากพบไข่ให้ทำลายโดยเก็บกลุ่มไข่ทำลายทิ้งและใช้แมลงหางหนีบ ส่วนตัวเต็มวัยให้ทำลายโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองไร่ละ 80 กับดัก...สำหรับหนอนขนาดใหญ่ให้ทำลายโดยใช้แมลงตัวห้ำ ได้แก่ แมลงหางหนีบหรือมวนพิฆาต

กรณีใช้สารเคมี ให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ทั้งนี้ ให้พ่นทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช...หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนหนอนกระทู้ 06-1415-2517.